คุณธรรม จริยธรรมกับการศึกษา
ในภาวะที่โลกกำลังไหวไปกับตามกระแสทางด้านวัตถุอย่างไม่หยุดนิ่ง ส่งผลให้คนเกือบทุกสังคมตกอย่าภายใต้การครอบงำของวัตถุนิยม ส่งผลให้มนุษย์ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆโดยเฉพาะปัญหาความเสื่อมทรามด้านศีลธรรม บางครั้งผู้คนในสังคมก็ได้รวมตัวกันออกมาเรียกร้องจริยธรรมกับผู้บริหารประเทศ เหตุการณ์ดังกล่าวได้สะท้อนถึงจุดวิกฤตบางอย่างที่เกิดขึ้นจริงในสังคม
ปัจจุบันทุกสถานบันการศึกษาได้ให้ความสำคัญกับการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมเข้าในกิจกรรมการเรียนการสอนทุกรายวิชา เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ของผู้เรียนควบคู่ไปกับคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าและความสำเร็จให้แก่ชีวิตของผู้เรียน อีกทั้งยังเป็นการสร้างคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ให้แก่สังคมไทยด้วย
องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียน
1.บิดา มารดา บ้าน หรือสถาบันครอบครัวเป็นแหล่งแรกที่ทำหน้าที่ปลูกฝังและหล่อหลอมตลอดจนถ่ายทอดลักษณะอันทรงคุณธรรมและจริยธรรมแก่สมาชิกในครอบครัวและทำหน้าที่ต่อไป แม้เด็กจะเข้าไปรับการศึกษาอบรมโรงเรียนในระดับต่างๆอยู่แล้วก็ตาม
2.ญาติผู้ใหญ่และสมาชิกอื่นๆในครอบครัวเป็นผู้มีอิทธิพลต่อการปลูกฝังและหล่อหลอมคุณธรรมจริยธรรมให้แก่เด็กในครอบครัวเช่นเดียวกัน โดยปกติเด็กจะเรียนรู้เจตคติเชิงจริยธรรมจากผู้ใหญ่ด้วยการสังเกตและเลียนแบบมากกว่าที่จะได้จากการฟังคำสั่งของผู้ใหญ่โดยตรง หากผู้ใหญ่เป็นผู้มีลักษณะเด่นเป็นที่ยกย่องบูชาแก่เด็กมาก เด็กจะมีแนวโน้มเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่มากขึ้นเท่านั้น
3.เพื่อนๆของเด็กเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดค่านิยมทางคุณธรรมและจริยธรรมบางอย่างให้เด็กได้รับรู้ รับไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดพฤติกรรมคล้อยตามเพื่อนๆได้
4.พระสงฆ์หรือผู้นำทางคุณธรรมจริยธรรมในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ หรือท้องถิ่นที่เด็กหรือนักเรียนอยู่นั้น เป็นที่เคารพนับถือของผู้ใหญ่ในสังคม การปฏิบัติชอบของพระสงฆ์มีหรือผู้นำทางศาสนาในท้องถิ่นนั้น จะมีอิทธิต่อการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม แก่เด็กหรือนักศึกษาในท้องถิ่นด้วย
5.โรงเรียนหรือสถานศึกษาซึ่งรวบรวมถึงการจัดสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา การบริหารปละการใช้บริการต่างๆ เป็นตัวอย่างอันดีงามของครูอาจารย์ละการเรียนการสอนวิชาต่างๆตามหลักสูตร โดยเฉพาะกิจกรรมต่างๆในสถานศึกษา
สรุป คุณธรรมคือสภาพความดีงามภายในตัวบุคคล ทำให้เกิดความชื่นชมยินดีมีจิตใจที่เปี่ยมไปด้วยความสุขขั้นสมบูรณ์ และจริยธรรมคือ สิ่งที่ควรประพฤติเพื่อให้เกิดความดีและความถูกต้องแก่สังคม เพื่ออยู่กันได้อย่างร่มเย็น
Adjective Clause
คืออนุประโยคที่ทำหน้าที่ที่ขยายคำนามหรือนามวลี ไม่ว่าคำนามนั้นจะทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เป็นกรรมของประโยค เป็นกรรมของกริยา หรือเป็นกรรมของบุพบทก็ตาม
อนุประโยคชนิดนี้จะขึ้นต้นด้วย that , which , who , where , หรือ whose เป็นต้น
อนุประโยคชนิดนี้ เรียกอีกอย่าง Relative Clause
ใช้ขยายประธานของประโยค
-The man who live on the third floor is a door.
ผู้ชายที่อาศัยอยู่บนชั้นสามเป็นหมอ
จะเห็นได้ว่าโครงสร้างของประโยคในภาษาอังกฤษและภาษาไทยใกล้เคียงกันมาก keywordที่ใช้นำหน้า Adjective Clause คือคำอย่างเช่น Who , When หรือ Which ส่วนในภาษาไทยนั้นkeyword จะเป็นคำว่า “ซึ่ง” หรือ “สู้” แทนคำว่า “ที่” ก็ได้ แต่ในภาษาอังกฤษจะใช้คำเฉพาะว่า“Who” ทั้งนี้เพราะคำนามหรือนามวลีที่อนุประโยคที่ทำหน้าที่ขยายเป็น “คน” และยังทำหน้าที่เป็นประธานของประโยคหรือประธานของกริยา “is” ด้วย
-The book that you bought is very expensive.
หนังสือ (เล่ม) ที่คุณซื้อ (ราคา) แพงมาก
ในประโยคนี้ประธานคือคำว่า The book ซึ้งเป็นสิ่งของ ดั้งนั้น อนุประโยคที่มาขยายจึงมีkeyword เป็นคำว่า“that”
-The hotel where we spent the night is called Orchid Hotel.
โรงแรม(ที่)เราพักมีชื่อว่าออร์คิดโฮเตล
ประธานของประโยคนี้คือ The Hotel ซึ่งเป็นสถานที่ ดังนั้น keyword ที่ใช้คือ “where”
-The women whose purse is stolen is going to the police station.
ผู้หญิง(ที่)กระเป๋าถูกขโมยกำลังไปสถานีตำรวจ
ประโยคนี้ประธานเป็น “The women” เป็นเจ้าของ “purse” ที่ถูกขโมย keyword จึงต้องเป็นคำว่า whose ซึ้งเป็น possessive pronoun เพื่อขยายให้ทราบว่าเป็นเจ้าของกระเป๋า
ใช้ขยายคำของกริยา
I like the students Who are hard working.
ฉันชอบนักเรียนที่ขยัน
ในประโยคนี้ Adjective Clause ขยายนามวลี the student ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค
Who ate the cake that I put in the refrigerator?
ใครกินเค้กที่ฉันเอาไว้ในตู้เย็น
ประธานนี้เป็นประโยคคำถามที่ Adjective Clause ขยายนามวลี the cake เป็นกรรมของกริยาate
ใช้ขยายกรรมของบุพบท
We are going to the hotel where our son works.
เรากำลังไปยังโรงแรมที่ลูกชาย(เรา)ทำงาน
ในประโยคนี้นามวลี the hotel เป็นกรรมของบุพบท to และมี Adjective Clause “where our son works ” มาขยาย เพื่อระบุให้ชัดเจนขึ้นว่าเป็นโรงแรมไหน
สรุป Adjective Phrase คือกลุ่มคำที่มี adjective ตัวเดียวโดดๆหรืออาจมีส่วนขยายข้างหน้าและส่วนขยายข้างหลังและส่วนขยายข้างหลังหรือแสดงลักษณะของคำนามหรือสรรพนามของตัวนั้นๆให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น