วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

บทที่1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
    ความสำคัญของการแปล    
          ในปัจจุบันมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวางภาษาอังกฤษมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจึงมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการแสดงและอธิบายความหมายเพื่อการโต้ตอบระหว่างมนุษย์ทั่วโลกการแปลจึงทวีความสำคัญมากขึ้นเนื่องจากประเทศไทยมีการติดต่อกับต่างประเทศในวงการต่างๆ มากขึ้น
         การใช้ภาษาต่างประเทศในหน่วยงานต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นทุกทีปรากฏว่าภาษาอังกฤษมีปริมาณการใช้มากที่สุด ทั้งนี้เป็นเพราะ        
         1.หน่วยงานต่างๆ ได้ขยายปริมาณ เช่น เปิดสอนภาษาอังกฤษให้กับหน่อยงานอื่นๆหรือเปิดแผนกเพิ่มขึ้น
         2.มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศเพิ่มขึ้น และใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก มีการประชาสัมพันธ์ และใช้เอกสารประกอบการประชาสัมพันธ์นั้น
         3.มีตำรา เอกสารภาษาอังกฤษซึ่งเป็นแหล่งวิทยาการหลายสาขา จากการที่ประเทศไทยได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับนานประเทศมากขึ้น ทำให้เกิดความจำเป็นในการที่ต้องมีการถ่ายทอดความจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง เพื่อให้ประชาชนทั้งสองประเทศที่ใช้ภาษาต่างกันสามารถทำความเข้าใจกันได้ งานแปลถ่ายทอดภาษาซึ่งกันและกัน จึงมีความสำคัญต่อการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นงานที่ต้องศึกษาวิเคราะห์ พินิจพิจารณาและกลั่นกรอง ซึ่งเป็นงานที่มีลักษณะละเอียดอ่อน นักแปลจึงต้องมีความเพียรพยายามอย่างมากในการเรียน เพื่อให้มีประสบการณ์และมีความรู้ทางวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพและกว้างขวาง  เพื่อให้งานแปลนั้นสามารถถ่ายทอดภาษาออกมาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
การแปลในประเทศไทย
    การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเริ่มมีบทบาทสำคัญในสังคมไทยตั้งแต่ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ รวมทั้งความเจริญทางเทคโนโลยี ทำให้มีการติดต่อและเดินทางถึงกันได้สะดวกรวดเร็ว ความต้องการด้านการแปลจึงมากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา การแปลจะช่วยให้ลดความไม่เข้าใจกันเนื่องจากมีวัฒนธรรมแตกแตกกัน และสร้างความเข้าใจระหว่างนานาชาติ ทำให้เกิดสันติภาพในโลก การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ประชาชนผู้ได้รับความช่วยเหลือและเกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้นที่ไม่สามารถเข้าใจภาษา และวัฒนธรรมของผู้ใช้ภาษาอังกฤษได้ใช้
ประโยชน์จากสิ่งที่ได้รับความช่วยเหลืออย่างแท้จริง  นอกจากนี้การท่องเที่ยวซึ่งนำรายได้เข้าประเทศจำนวนมาก ในด้านวิชาการต่างๆเช่น การเกษตร การแพทย์ การเคหะ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เพื่อการศึกษาของชาติ จึงมีการแปลตำราเหล่านี้เป็นภาษาไทย เพื่อช่วยให้นักศึกษา นักธุรกิจ และการเมือง ในการศึกษาหาความรู้หรือเดินทางไปต่างประเทศ จึงมีการแปลงานทุกอย่างหรือแปลมา เป็นภาษาไทยให้มากที่สุด เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ การผลิตงานแปล ผู้แปลอาจจะต้องตั้งเป็นองค์การ เป็นแผนก หรือมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่นให้นักศึกษาแปลด้วยกัน นักศึกษาแปลทั้งหมดก่อนแล้วส่งให้นักแปลตรวจแก้ไขอีกครั้ง เพื่อช่วยฝึกฝนการแปลให้นักศึกษา

การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
             ผู้แปลจะต้องเป็นกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและมีนักภาษาด้วย เพื่อป้องกันการใช้ภาษาวิบัติ การแปลเป็นเรื่องที่จำเป็น เนื่องจากในชีวิตประจำวันจะต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องราว การพัฒนา ธุรกิจการพานิช  เช่น การแปลคู่มือเครื่องมือ เป็นต้น

การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย   
           การสอนแปลในระดับระดับมหาวิทยา เป็นการสอนไวยากรณ์ และโครงสร้างของภาษาการใช้ภาษา รวมทั้งการอ่านเพื่อความเข้าใจ เนื่องจากนักศึกษายังขาดความรู้ในเรื่องเหล่านี้และผู้ที่จะแปลได้ควรจะเป็นผู้ที่มีความรู้ทางภาษาอย่างดีแล้ว โดยได้รับการฝึกฝนในเรื่องไวยากรณ์และโครงสร้างภาษาอังกฤษอย่างได้ผลจริง 

            การแปลคืออะไร                                                                                                                              การแปลคือการคือการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง  โดยให้มีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ตรงตามต้นฉบับทุกประการ ไม่มีการตัดต่อหรือแต่งเติมที่ไม่จำเป็นใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งควรรักษาให้ได้รูปแบบตรงตามต้นฉบับเดิมอีกด้วยหากทำได้

คุณสมบัติของผู้แปล
1.เป็นผู้รู้ภาษาอย่างดีเลิศ                                                                                                                                               2.สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้เข้าใจ                                                                                                               3.เป็นผู้ที่มีศิลปะในการใช้ภาษา มีความเข้าใจและซาบซึ้งในความสวยงามของภาษา

บทบาทของการแปล                                                                                                                                                              การแปลเป็นทักษะที่พิเศษในการสื่อสาร  คือ ผู้รับสารไม่ได้รับสารจากผู้ส่งสารคนแรกโดยตรง แต่รับสารจากผู้แปลอีกทอดหนึ่ง

คุณสมบัติของนักแปล                                                                                                                                   นักแปลจะต้องมีคุณสมบัติ ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์

การให้ความหมายของการแปล
การส่งสารโยวิธีการแปลเป็นภาษาแม่ของตน การให้ความหมายมี 2 ประการ คือ                                                 1. การแปลที่ใช้รูปประโยคต่างกันแต่มีความหมายอย่างเดียวกัน                                                               2.การตีความหมายจากปริบทของข้อความต่างๆ อาจจะดูจากสิ่งของ รูปภาพการกระทำตลอดจนสภาพต่างๆ

การแปลกับการตีความจากปริบท
ผู้แปลจึงต้องทำให้นามธรรมนั้นออกมาเป็นความคิดรวบยอดจากรูปภาพและสามารถสรุปความหมายบออกมาได้

การวิเคราะห์ความหมาย
สิ่งที่จะต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์ความหมายคือ
1. องค์ประกอบของความหมาย
2. ความหมายและรูปแบบ
3.ประเภทของความหมาย   
   องค์ประกอบของความหมา
1. คำศัพท์
2. ไวยากรณ์
3. เสียง  
   ความหมายและรูปแบบ
1. ในแต่ละภาษา ความหมายหนึ่งอาจจะแสดงออกได้หลายรูปแบบ เช่น ในรูปประโยคที่ห่างกัน หรือใช้คำที่ต่างกัน เช่น                     
     1. The dog bit the boy.
     2. The boy was bitten by the dog

2.  รูปแบบเดียวอาจจะมีหลายความหมาย เช่น
            Lincoln tunnel is under water                                                                                                                     
               มี 2 ความหมาย.    
      1. Lincoln tunnel is flooded.
      2. Lincoln tunnel is built under the water    

ประเภทของความหมาย
         นักภาษาศาสตร์ได้กำหนดประเภทความหมายไว้ 4 ประเภท ได้แก่
1.ความหมายอ้างอิง คือ ความหมายที่กล่าวอ้างโดยตรงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
2 ความหมายแปล คือ ความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน ซึ่งจะเป็นทั้งด้านบวกและด้านลบก็ได้
3.ความหมายตามปริบท คือ ต้องพิจารณาจากปริบทที่แวดล้อมคำนั้นทั้งหมด
4.ความหมายเชิงอุปมา คือ เป็นความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบ  โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้                                                                         1.             สิ่งที่นำมาเปรียบเทียบ
                                      2.             สิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ
                                      3.             ประเด็นของการเปรียบเทียบ  

การเลือกบทแปล
     เลือกบทแปลตามวัตถุประสงค์ของการสอนแปล โดยคำนึงถึงการทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตระหนักถึงความปกพร่องต่างๆของคนในการแปลและให้ผู้เรียนได้ความรู้ทั้งด้านทักษะทางภาษา และเนื้อหาไปด้วย เช่น บทแปลที่ให้ความรู้ทางวิชาการโดยตรง
                                                   
 เรื่องที่จะแปล
การเลือกหนังสือที่จะแปล
1.  เป็นเรื่องที่เลือกเฟ้น
2.  เรียบเรียงให้ถูกต้องทับกับสากล ตลอดจนละเมียดละไมซึ้งในภาษา
      3. ใช้ภาษาที่แปลอย่างถูกต้อง 
ข้อที่ควรระวัง คือ วัฒนธรรมของเรื่องเดิม เช่น เรื่องของโชกุน แปลไปเป็นภาษาอังกฤษแล้วเรานำมาแปลเป็นไทยอีกทีหนึ่ง

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล
      โครงสร้างเป็นสิ่งที่บอกเราว่า เราจะนำคำศัพท์ที่เรารู้มาประกอบกันหรือเรียงกันอย่างไรจึงจะเป็นที่เข้าใจของผู้ที่เราสื่อสารด้วย ในการใช้ภาษาใดก็ตาม ถ้าเราไม่รู้หรือเข้าใจโครงสร้างของภาษานั้น เราจะล้มเหลวในการสื่อสาร คือฟังอ่านไม่เข้าใจ และพูดหรือเขียนให้คนอื่นเข้าใจไม่ได้
                                                          
                 1. ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ


           ชนิดของคำ (parts of speech) เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง ประโยคจะถูกไวยากรณ์เมื่อเราใช้ชนิดของคำตรงกับหน้าที่ทางไวยากรณ์ เช่น *the beautiful of nature หรือ ความงามของธรรมชาติ แทนที่จะพูดว่า the beauty และความงาม เป็นคำนามในภาษาอังกฤษและภาษาไทยตามลำดับ ส่วนคำว่า  beautiful และงามไม่ใช่คำนาม และไม่สามารถใช่ในตำแหน่งดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตาม การคำนึงถึงชนิดของคำเท่านั้นยังไม่ พอ ต้องคิดด้วยว่าเวลานำคำไปใช้จริง คำชนิดนั้นเกี่ยวพันกับประเภททางไวยากรณ์อะไรบ้างในภาษานั้นๆ                                    

 1.1 คำนาม                                                                                                                                                           เมื่อเปรียบเทียบคำนามในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ พบว่าประเภททางไวยากรณ์ที่เป็นลักษณะสำคัญหรือลักษณะที่มีตัวบ่งชี้ (marker) ในภาษาอังกฤษแต่เป็นลักษณะที่ไม่สำคัญหรือไม่มีตัวบ่งชี้ใน  ภาษาไทย ได้แก่  

    1.1.1 บุรุษ (person) ภาษาอังกฤษแยกรูปสรรพนามตามบุรุษที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 อย่างเด่นชัด เช่น I (บุรุษ  ที่ 1) ,  you (บุรุษที่ 2),  he/she (บุรุษที่ 3) , (1  และ 2) เป็นต้น                                            
    1.1.2 พจน์ (number) ภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้พจน์โดยใช้ ตัวกำหนด (determiner) ที่ต่างกัน เช่นใช้   a/an นำหน้าคำนามเอกพจน์เท่านั้น และแสดงพหูพจน์โดยการเติมหน่วยท้ายศัพท์ –s แต่ในภาษาไทยไม่มี6การบ่งชี้เช่นนั้น 
พราะภาษาไทยไม่มีการแยกสรรพสิ่งตามจำนวน                                             
    1.1.3 การก (case) คือประเภททางไวยากรณ์ของคำนามเพื่อบ่งชี้ว่าคำนามนั้นเล่นบทบาทอะไร แต่ในภาษาไทยไม่มีการเติมหน่วยท้ายคำเพื่อแสดงการก แต่ใช้การเรียงคำเหมือนกับการก ประธานและการกกรรมในภาษาอังกฤษ ส่วยการกเจ้าของในภาษาไทยเรียงคำต่างจากภาษาอังกฤษ                                                                     
   1.1.4 นามนับได้กับนามนับไม่ได้ (countable and un countable nouns) คำนามในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยในเรื่องการแบ่งเป็น นามนับได้ นามนับไม่ได้ ผู้พูดภาษาอังกฤษทุกคนแยกความแตกต่างระหว่างคำนาม เช่น cat, house, book กับคำนามเช่น hair, water, sugar ความแตกต่างดังกล่าวนี้แสดงโดยการใช้ตัวกำหนด a/an กับนามนับได้ที่เป็นเอกพจน์ และเติม –s ที่นามนับได้พหูพจน์ ส่วนนามนับไม่ได้ต้องไม่ใช้ a/an  และไม่ต้องเติม –s         1.1.5 ความชี้เฉพาะ (definiteness) ประเภททางไวยากรณ์อีกประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญใน   ภาษาอังกฤษ แต่ไม่สำคัญในภาษาไทย ได้แก่การแยกระหว่างนามชี้เฉพาะกับนามไม่ชี้เฉพาะ เครื่องหมายที่จะบ่งชี้เฉพาะคือตัวกำหนด ได้แก่ a/an ซึ่งบ่งบอกความไม่ชี้เฉพาะ และ the ซึ่งบ่งบอกความชี้เฉพาะ                                               
                                                                                 
                 1.2 คำกริยา                                                                                   
เ        เป็นหัวใจของประโยค มีการใช้ซับซ้อนมากกว่าคำนาม เพราะมีทางประเภททางไวยากรณ์ต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น             

         1.2.1 กาล (tense)  เป็นคำกริยาในภาษาอังกฤษต้องแสดง กาลเสมอว่าเป็นอดีต หรือไม่ใช่อดีต ซึ่งแยกต่อไปได้อีกเป็นปันจุบันและอนาคต ประโยคทั้ง2ประโยคต่อไปนี้จึงแตกต่างกันที่กาล
    (1.) Mary likes him แม่รี่เขาชอบ
      (2.) Mary liked him แม่รี่เขาชอบ                                                                                                                               ประโยคทั้งสองประกอบด้วยคำ3คำเหมือนกัน แต่กริยามีเสียงท้ายคำต่างกัน คำหนึ่ง--liked แสดงอดีตกาล ส่วนอีกคำ--likes แสดงปัจจุบัน 

       1.2.2 การณ์ลักษณะ (aspect) หมายถึงลักษณ์ของการกระทำหรือเหตุการณ์ ในภาษาไทย เหตุการณ์ที่ต่อเนื่องหรือดำเนินแสดงด้วยคำว่า “กำลัง” หรือ “อยู่” หรือใช้ทั้งคู่  ดังตัวอย่างคำกริยาตัวเอนในประโยคต่อไปนี้
        (1) He has been unhappy for the last three days and he still looks miserable.
        (2) Suddenly, he thought a bicycle would be very useful.       
โดยเหตุที่ภาษาไทยกับภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างชัดเจนในแง่ที่ภาษาอังกฤษถือว่าเรื่องเวลาของเหตุการณ์เป็นสิ่งสำคัญมาก

1.2.3 มาลา (mood) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่ใช่กับคำกริยา มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์หรือเรื่องที่พูดอย่างไร เช่น ประโยคสมมติที่เป็นไปไม่ได้ ประโยคที่เปรียบบางสิ่งว่าเสมือนอีกสิ่ง กริยาจะไม่ใช่รูปธรรมดา  เช่นที่แสดงด้วยตัวเอนในตัวอย่างดังนี้
         (1) I wish I could fly. (รูปปรกติคือ can)
         (2) I wish I knew him. (รูปปรกติคือ know)                                                          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น