การสอนภาษาอังกฤษ
รูปแบบการศึกษาไทยในปัจจุบันเปลี่ยนไปจากเดิมมาก ด้วยองค์ความรู้ที่เปลี่ยนไป เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น พฤติกรรมของมนุษย์ที่ปรับเลี่ยนไปตามกาลเวลา ทฤษฎีการศึกษาในแบบเดิมอาจใช้ไม่ได้ผล รูปแบบการเรียนรู้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนให้ทันต่อยุคสมัย กรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จึงขยายขอบเขตออกไปจากเดิม เนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาดิฉันได้ร่วมกิจกรรมกับทางมหาวิทยาลัย คือการจัดออบรมเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งการอบรมครั้งนี้ทำให้ได้เรียนรู้เทคนิคการสอนแบบสนุกสนานแต่ผู้เรียนได้ความรู้ควบคู่ไปด้วย
ในวันนี้วิทยากรใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนที่แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันเพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด เช่น คิดและคุยกัน กิจกรรมโต๊ะกลม ซึ่งวิธีแบบนี้เรียกว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือ
สอนด้วยการใช้ความบันเทิงบวกกับความรู้ โดยการเล่นเกมส์บอล โดยมีลูกบอลทั้งหมด 20 ลูก กระจายให้นักเรียนทั่วห้องคนละลูกจนครบ 20 ลูก และเปิดเพลงพร้อมกับส่งลูกบอลไปให้เพื่อนเรื่อยๆจนกว่าเพลงจะจบ เมื่อเพลงจนลูกบอลอยู่ที่ใครให้ออกไปยืนหน้าห้อง และให้ผู้เรียนแต่ละคนพูดภาษาอังกฤษมาคนละ 1 ประโยค โดยใช้คอนเซ็ปการเล่านิทาน เริ่มจากผู้สอนพูดขึ้นมา 1 ประโยค แล้วให้แต่ละคนเล่าต่อกันไปเรื่อยๆจนถึงคนสุดท้าย และเนื้อเรื่องของแต่ละคนต้องสอดคล้องกันการให้นักเรียนแสดงออกโดยใช้ภาษาแบบง่ายๆแต่งประโยคสั้นๆ จากนั้นก็ให้ผู้เรียนจับกลุ่มกัน โดยแต่ละกลุ่มจะได้รับกระดาษโฟชาร์ท และสีเมจิก แล้วให้วาดภาพเรื่องราวนิทานที่เพื่อนๆตัวแทนได้เล่าตกแต่งให้สวยงามพร้อมนำเสนอหน้าชั้น เมื่อตัวแทนได้ออกไปรอนำเสนอ อาจารย์ก็บอกกติกาใหม่คือ ให้นำเสนอโดยใช้คำพูดแค่ 3 ประโยค แต่ครอบคลุมเรื่องราวทั้งหมดของนิทาน
จากกิจกรรมที่ได้ทำในการเข้าอบรมในครั้งนี้ทำให้ได้เรียนรู้กิจกรรมง่ายๆที่นำมาใช้ได้จริง เรื่องทักษะการคิด (thinking skill) การออกไปเล่านิทานหน้าห้องโดยไม่รู้ว่าเหตุการณ์ของเพื่อนคนก่อนหน้าเราจะเล่าอย่างไร เมื่อเพื่อนเล่าเสร็จก็ต้องรีบคิดเป็นภาษาอังกฤษเพื่อต่อเรื่องราวของนิทาน ฝึกทำงานกันเป็นกลุ่ม(cooperative learning )โดยให้แต่ละคนช่วยกันทำงานและช่วยกันระดมความคิดว่าจะให้งานออกมาอย่างไร และสุดท้ายใช่วิธีบูรณาการณ์โดยนำเรื่องทั้งมารวมเข้าด้วยกันและสรุปให้เหลือแค่ 3 ประโยค ซึงการจัดกิจกรรมแบบนี้ ทำให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงและมีผลดีต่อทั้งนักเรียน และการอสนของอาจารย์ ที่จะทำให้ผู้เรียนได้สนุกสนานแบบมีความรู้และจะได้ประเมินผู้เรียนจากการลงมือปฏิบัติจริงได้อีกด้วย
ใช้ไหวพริบปฏิภาณกับต่อเรื่องราวแบบทันที
จากกิจกรรมที่ได้ทำในการเข้าอบรมในครั้งนี้ทำให้ได้เรียนรู้กิจกรรมง่ายๆที่นำมาใช้ได้จริง ทั้งยังทำให้สร้างทักษะหลายๆด้านควบคู่กัน ทั้ง thinking skill ที่ทำงานแบบคนเดียวและทำงานแบบเป็นกลุ่ม ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ใช้ไหวพริบปฏิภาณกับต่อเรื่องราวแบบทันที
จากการที่ได้เรียนในช่วงบ่ายในหัวข้อเรื่อง การสอนในศตวรรษที่ 21 หัวข้อที่ดิฉันสนใจ คือการจัดการเรียนการสอนแบบ The Flipped Classroom
ทักษะการฟังไม่สามารถพัฒนาขึ้นในชั่วข้ามคืน ต้องใช้เวลาในการฝึกฝนทำซ้ำๆ อย่างต่อเนื่องสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ฟังครั้งนึงไม่กี่นาทีแต่เน้นฝึกบ่อยๆ จะได้ผลดีกว่าการฟังครั้งนึงเป็นชั่วโมงแต่ฝึกแค่สัปดาห์ละครั้งนะคะ
ถ้าใครรู้สึกว่าสกิลเริ่มพัฒนาขึ้นแล้ว ระหว่างฟังจะฝึกพูดไปด้วยก็ได้ค่ะ การพูดตามจะทำให้เราโฟกัสกับสิ่งที่ฟังมากขึ้น และเป็นการรีเช็คให้มั่นใจว่าสิ่งที่ได้ยินนั้นถูกต้องมากยิ่งขึ้นด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น