วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สรุป กลยุทธ์ในการเรียนภาษาอังกฤษ

สรุป กลยุทธ์ในการเรียนภาษาอังกฤษ

กลยุทธ์ในการเรียนภาษา
ในยุคที่ภาษาอังกฤษกำลังเฟื่องฟู  มีการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระบบที่หลากหลายลักษณะยิ่งขึ้นกว่าเดิม เกิดมีโรงเรียนสองภาษาและโรงเรียนสามภาษาที่มีภาษาอังกฤษเป็นตัวร่วมอยู่ด้วย  มีโปรแกรมอินเตอร์  ที่ใช่ภาษาอังกฤษล้วนในการเรียน การสอน การเรียนภาษาแตกต่างจากการเรียนวิชาอื่นๆ เป็นใหญ่ตรงที่ว่าต้องมีสองด้านควบคู่กัน คือ ความรู้และทักษะ
ผู้เรียนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ภาษาอังกฤษพอที่จะฟัง พูด อ่าน เขียน และแปลในขั้นที่ใช้การได้อย่างแท้จริง เมื่อหยิบยกปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์  คนส่วนใหญ่มักจะมุ่งไปที่เหตุปัจจัยภายนอกผู้เรียน กล่าวคือ โทษครูผู้สอนว่าขาดแคลนความรู้ ความชำนาญในการใช้ภาษาและขาดวิธีสอนที่ได้ผล โทษตำราแบบว่าขาดคุณภาพ โทษสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอนว่าจัดหลักสูตรโดยให้สัดส่วนแก่ภาษาอังกฤษน้อยเกินไป โทษนโยบายของรัฐ ว่าขาดทิศทางและยุทธศาสตร์ในการจัดการศึกษาภาษาอังกฤษที่สอดคล้องกับความเป็นจริงและมีประสิทธิผล โทษสภาพแวดล้อมทางสังคมว่าไม่เอื้อต่อการใช้ภาษาในสถานการณ์จริง
ประเด็นปัญหาต่างๆดังที่กล่าวมานี้ เป็นปัญหาหมักหมมมานานและเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆจนประหนึ่งว่าเหลือวิสัยที่ใครจะแก้ไขอะไรได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องผู้สอน สื่อการเรียนการสอนและการบริหารจัดการ ประเด็นนี้ต้อง ย้อนกลับไปพิจารณาดูเหตุปัจจัยเฉพาะกรณี   ปัจจัยภายนอกก็สำคัญเช่นกัน  เช่น  มีโอกาสใช้ในสถานการณ์จริงเพราะ คบหาคลุกคลีกับเจ้าของภาษามากพอ  ได้ศึกษาจากครูอาจารย์ที่มีความรู้ความชำนาญตลอดจนได้เรียนรู้จากสื่อรอบตัวประเภทที่มีคุณภาพมาตรฐาน  ส่วนปัจจัยภายในก็คือเป็นผู้มีความถนัดในการเรียนภาษา  มีเจตคติที่ดีต่อภาษาที่เรียน  มี  แรงจูงใจใฝ่เรียนรู้สูงประกอบกับมีความทุ่มเทมากพอ  ผู้เรียนจำเป็นต้องพัฒนาปัจจัยภายในการเรียนภาษาอังกฤษจนสัมฤทธิ์ผลนั้นจำต้องดำเนินไปอย่างเป็นระบบหรือมีระเบียบแบบแผนโดยอาจมีขั้นตอนสำคัญดังนี้
      1.กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
      2.รู้จัก จัดเตรียมและแสวงหาแหล่งเรียนรู้
      3.พัฒนากลยุทธ์การเรียน
      4.ลงมือปฏิบัติ 
เริ่มตั้งแต่วัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย ก็สมควรกำหนดให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นกว่าจะสามารถทำอะไรได้แค่ไหน (ฟัง    พูด  อ่าน  เขียน  แปล ) ภายในกรอบเวลาได้  เช่น
·       ภายใน 1 ปี สามารถชมข่าวภาษาอังกฤษทางโทรทัศน์ได้เข้าใจจนสามารถสรุปสาระสำคัญของเนื้อ ข่าวได้
·       ภายใน 6 เดือน สามารถสนทนาขั้นพื้นฐานกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้  เช่น (สอบฐานความ ต้องการ  ให้คำแนะนำ  บอกทาง )
·       ภายใน 3 เดือน สามารถอ่านข่าวและบทความในหนังสือพิมพ์รายวันและนิตยาสารรายสัปดาห์ได้เข้าใจเป็นส่วนใหญ่
·       ภายใน 1 เดือนสามารถเขียน e-mail  โต้กับชาวต่างชาติได้โดยไม่ขลุกขลัก
·       เรียนรู้ศัพท์ใหม่  (  วิธีออกเสียง  ความหมาย  วิธี  ใช้คำในประโยค  )  วันละ 5-10 คำ
ต้องให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงด้วย  โดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้  ความถนัดและการจัดสรรเวลา  (ภาระการเรียน  ภาระการงาน  และกิจกรรมอื่นๆ )
                เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายได้แล้ว ก็ต้องรู้จัก จัดเตรียมและเสาะหาสื่อและแหล่งความรู้เอื้อต่อการฝึกทักษะด้วยตัวเองเช่น
·       โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เพื่อการรับชมข่าวและรายการจากต่างประเทศ
·       วิทยุคลื่นสั้นเพื่อการรับฟังข่าวสารจากต่างประเทศโดยตรง
·       แหล่งท่องเที่ยว เพื่อหาโอกาสที่จะพัฒนากับนักท่องเที่ยว
·       หนังสือพิมพ์รายวัน  นิตยาสารรายสัปดาห์เพื่ออ่านข่าวและบทความ
·       ห้องสมุด เพื่อการอ่านและกิจกรรมการเรียนอื่นๆ
·       ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยและร้านหนังสือต่างประเทศ
เมื่อรู้จักจัดเตรียมและเสาะหาสื่อแหล่งเรียนรู้พร้อมแล้วขั้นต่อไปจำเป็นต้องพัฒนากลยุทธ์ในการเรียนภาษามีองค์ประกอบทั้งสิ้น 10 ประการ ได้แก่ ศึกษา  ฝึกฝน  สังเกต จดจำ  เลียนแบบ  ดัดแปลง  วิเคราะห์  ค้นคว้า  ใช้งาน  ปรับปรุง ซึ่งอาจอธิบายความได้ดังนี้
1. ศึกษา
การเรียนภาษาจะต้องเริ่มจากความรู้เกี่ยวกับตัวภาษาโดยตรงก่อนเสมอ ความรู้เปรียบเสมือนเสาหลักมีอยู่ 2 ด้าน คือ ศัพท์กับไวยากรณ์ นอกจากตัวเนื้อภาษาแล้วยังมีความรู้อีก  ด้านใหญ่ ที่ไม่ควรละเลยคือ
·       ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของภาษา เช่น ภาษาคืออะไร มีลักษณะอย่างไร
·       ความรู้เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมของชนชาติเจ้าของภาษา (สังคม วิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ ศาสนา ศิลปะ วรรณคดี )
ในการเรียนภาษาจึงไม่ต้องเรียนเนื้อหา อะไรนอกเหนือไปจากการฝึกทักษะ ทำให้ไม่เข้าใจและไม่ใส่ใจว่าจะต้องหาความรู้เรื่องศัพท์และไวยากรณ์ อันถือได้ว่าเป็นส่วนตัวเนื้อหา หลักของภาษาโดยตรง

2. ฝึกฝน
การเรียนภาษาแตกต่างจากเรียนวิชาอื่นๆเป็นวิชาอื่นๆเป็นส่วนใหญ่  ตรงที่ว่าต้องมีสองด้านควบคู่กัน การเรียนแต่ภาคทฤษฎีโดยไม่ฝึกปฏิบัติ ย่อมไม่อาจทำให้บรรลุเป้าหมายคือสามารถใช้ภาษา การฝึกฝนภาษาให้ได้ผล จำต้องผ่านอินทรีย์หลายทางควบคู่กัน คือ ตา หู ปาก มือ
·       ตา  ดู ครอบคลุมทั้งการอ่าน ตัวหนังสือและสีหน้าท่าทางในระหว่างการสนทนา
·       หู  ฟัง ครอบคลุมการฟังทั้ง เสียงและน้ำเสียงของผู้พูด
·       ปาก  พูด หมายถึงการออกเสียง ยังครอบคลุมไปถึงการพูดในที่ประชุมการนำเสนอด้วยวาจาและการบรรยาย
·       มือ –  เขียน ได้แก่การเขียนและหมายรวมไปถึงการใช้อุปกรณ์ทดแทนการเขียนด้วยมือ เช่น เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้เรียนต้องใส่ใจเรื่องระเบียบแบบแผนที่ถูกต้องในการเขียน
ทั้งสี่ทางนี้สอดคล้องกับทักษะการใช้ภาษาสี่ด้าน นอกจากนี้ยังต้องมีแรงเสริมอีก 2ทาง คือ
·       หัว  คิด หมายถึง สมรรถนะทางด้านปัญญา ในการคิดพิจารณา  วิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่กำลังศึกษา
·       ใจ  รัก หมายถึง สมรรถนะทางด้านจิต คือใจรักในสิ่งที่อ่านก่อน จากนั้นก็มีความหมั่นเพียรในการศึกษา
3. สังเกต
ภาษาอังกฤษมีเนื้อหาอยู่มาก บางเรื่องบางด้านก็เป็นเรื่องที่ซับซ้อน ซึ่งผู้ที่ไม่ค้นจะรู้สึกว่าเข้ายาก บางเรื่องก็เป็นลักษณะของภาษาเอง ไม่อาจใช้เหตุผลคาดคะเนหรือใช้ตรรกะหยั่งรู้เอาเองได้
·       ไวยากรณ์ เช่น โครงสร้างของวลีและประโยคการเรียงลำดับคำ,การผันรูปกริยาตาม tense
·       ศัพท์ เช่น ชนิดของคำ คำที่มีความหมาย,คำที่มักปรากฏร่วมกัน (collocation)
·       ภาษาสำเร็จรูป ซึ่งมีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างศัพท์กับไวยากรณ์ ได้แก่ โวหาร (expression) สำนวน (idiom) สุภาษิต (proverb)
4. จดจำ
ในยุคที่การปฏิรูปการศึกษากำลังฟื้นฟูนี้ มีนักศึกษาส่วนหนึ่งมักจะพูดตำหนิวิธีการเลียนแบบท่องจำในลักษณะที่สุดโต้ง จนทำให้คนทั่วไปเข้าใจผิดเลยเถิดไปว่า การท่องจำเป็นวิธีเรียนที่เชย ล้าสมัย ไม่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการวิพากษ์วิจารณ์  การท่องจำจึงไม่จำเป็นหรือไม่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้
ผลเสียจากการที่ผู้เรียนภาษาอังกฤษในยุคปัจจุบันละทิ้งการท่องจำ  มีตัวอย่างที่เห็นชัดเรื่องหนึ่งคือไม่สามารถใช้รูปคำกริยาที่ผันรูปผิดปรกติได้ถูกต้อง (เช่น give – gave – given ) หรือเกิดความสับสนเป็นประจำ (เช่น lie – lay - lain  สับสนกับ lay – laid – laid และlie – lied – lied )
5. เลียนแบบ
แต่ละภาษาจะมีสัญนิยม ( convention) ของตนเองอันเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างคนที่ใช้ภาษาเดียวกัน มิฉะนั้นจะสื่อสารกันไม่ได้เลย คนที่เป็นสมาชิกใหม่ของประชาคมที่ใช้ในภาษานั้น (เช่น เด็กเกิดใหม่เริ่มเรียนภาษาของแม่หรือนักเรียนที่เริ่มเรียนภาษาต่างประเทศ ) ก็ต้องยอมรับศึกษาและใช้ตามสัญนิยมนั้น ด้วยเหตุนี้การเรียนภาษาจึงต้องอาศัยหลักการเลียนแบบตลอดทุกขั้นตอนหรือตลอดชีวิตก็คงได้
6. ดัดแปลง
เมื่อเลียนแบบแล้ว ต้องรู้จักดัดแปลงให้เข้ากับวัตถุประสงค์ในการใช้ภาษาในสถานการณ์ต่างๆการดัดแปลงย่อมต้องอาศัยความรู้เรื่องไวยากรณ์ประกอบกับความรู้เรื่องศัพท์และสำนวนโวหารเป็นพื้นฐานสำคัญ การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในบ้านเรายังอ่อนแอเรื่องการค้นคว้าอยู่มาก ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ครูผู้สอนภาอังกฤษบางส่วนนอกจากไม่แนะนำส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้พจนานุกรมแล้ว บางครั้งยังไม่สนับสนุนให้ใช้และถึงกับห้ามใช้ก็มี
7. วิเคราะห์
การเรียนภาษาในระดับเบื้องต้นจำต้องอาศัยการเลียนแบบอยู่มาก การวิเคราะห์มีได้ใน 3 ระดับใหญ่ๆ คือ
·       ระดับศัพท์ คือ วิเคราะห์โครงสร้างและความหมายของคำศัพท์และสำสวน
·       ระดับไวยากรณ์ คือ วิเคราะห์โครงสร้างและความหมายของวลีและประโยค
·       ระดับถ้อยความ คือ วิเคราะห์โครงสร้างและความหมายโดยรวม ที่ผู้พูดหรือผู้เขียนต้องการสื่อ
8. ค้นคว้า
ความรู้ที่มีอยู่ในตำรา  แบบเรียนหรือสื่อการเรียนอื่นๆยังมีไม่เพียงพอ ผู้เรียนจำต้องค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่างๆ การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในบ้านเรายังอ่อนเรื่องการค้นคว้าอยู่มาก ในสภาพความเป็นจริงของการใช้ภาษาการตั้งเป้าหมายว่าผู้เรียนหรือผู้ใช้ภาษาต้องรู้ศัพท์หมดทุกคำ หรือต้องใช้ภาษาโดยไม่ผิดเลยนั้น เป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ เพราะเป็นไปไม่ได้และก็ไม่จำเป็นด้วย แต่การพร่ำสอนให้ผู้เรียนอาศัยการเดาไม่ต้องค้นคว้าเพิ่มเติมทำให้ความรู้ต่างๆที่เรียนมานั้นพร่ามัว ง่อนแง่น จึงทำให้ขาดความมั่นใจในการใช้ภาษา
9. ใช้งาน
การมีโอกาสไปใช้ในชีวิตในต่างประเทศทำให้ได้ใช้ภาษาในสภาพจริงได้อย่างเต็มที่ ได้เรียนรู้ถึงวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา เป็นปัจจัยที่เสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนภาษาได้อย่างดียิ่งและทำให้ได้ตระหนักถึงจุดอ่อนจุดแข็งของตนเอง เนื่องจากได้เรียนรู้ของจริง ซึ่งบางครั้งอาจแตกต่างอย่างมากจากประสบการณ์ในสถานการณ์จำลองภายในชั้นเรียนภาษาของบ้านเราเอง อันเป็นการเปิดโอกาส
10. ปรับปรุง
ในการฝึกฝนการใช้ภาษา ผู้เรียนที่ดีต้องช่างสังเกตและเรียนรู้จากข้อผิดพลาดบกพร่องเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขด้วยการศึกษา ฝึกฝน วิเคราะห์ ค้นคว้า และหาโอกาสไปทดสอบใหม่เพื่อจัดความก้าวหน้าหรือพัฒนาการในการใช้ภาษาในด้านนั้นๆ
ความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาเป็นสิ่งที่ต้องบ่มเพาะสะสมเป็นเวลานานมิใช่จะได้มาโดยเพียงผ่านการเรียนกวดวิชาหรือฝึกอบรมไม่กี่สิบชั่วโมง   ดังที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น