วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Learning Log การแปล 2 ทั้งหมด

การแปลบันเทิงคดี
บันเทิงคดี หมายถึง งานเขียนทุกประเภทที่ไม่อยู่ในประเภทของงานวิชาการและสารคดี บันเทิงคดีมีหลายรูปแบบ ได้แก่ นิทาน นวนิยาย เรื่องสั้น บทเพลง บทกวี ฯลฯ บันเทิงคดีเป็นงานเขียนที่มีรูปแบบแตกต่างจากสารคดี ทั้งในด้านเนื้อหาและองค์ประกอบทางภาษา ในด้านเนื้อหาอาจเสนอเนื้อหาสาระที่มีความเป็นจริงบ้าง ผู้เขียนจะสอดแทรกทัศนะความรู้สึกหรือประสบการณ์ในงายเขียนด้วย มีจุดประสงค์หลักคือให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่านบันเทิงคดีอาจเป็นการถ่ายทอดสิ่งที่เป็นจินตนาการของผีเขียนล้วนๆ
1.องค์ประกอบของงานเขียนแบบบันเทิงคดี
ในการแปลบันเทิงคดีผู้แปลต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ คือองค์ประกอบด้านภาษา และองค์ประกอบที่ไม่ใช่ภาษา ดังนั้นองค์ประกอบด้านภาษาจึงเป็นประเด็นที่ผู้แปลจะต้องให้ความใส่ใจเป็นอย่างยิ่งในการแปลงานบันเทิงคดี
2.องค์ประกอบด้านภาษา
องค์ประกอบด้านภาษาที่เกี่ยวข้องกับการแปลงานบันเทิงคดีแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ การใช้สรรพนามและคำเรียกบุคคล การใช้คำที่มีความหมายแฝง และภาษาเฉพาะวรรณกรรม บทนี้จะกล่าวถึงรายละเอียดของการใช้ภาษาที่มีความหมายแฝงและภาษาเฉพาะวรรณกรรมเท่านั้น
2.1 ภาษาที่มีความหมายแฝง
คำศัพท์ในภาษาใดๆประกอบด้วยคำศัพท์ที่มีความหมายตรงตัวหรือความหมายตามตัวอักษร เช่น chicken หมายถึง ไก่แต่มีคำศัพท์จำนวนมากซึ่งนอกจากมีความหมายตรงตัวแล้วยังมีความหมายแฝงอีกด้วย เช่น
คำศัพท์
ความหมายตรงตัว
ความหมายแฝง
Chicken
ไก่ (สัตว์ปีกชนิดหนึ่ง)
ขี้ขลาดตาขาว
ไก่
สัตว์ปีกชนิดหนึ่ง
หญิงสาวอ่อนต่อโลก
รถไฟ
ยานพาหนะชนิดหนึ่ง
ชายหรือหญิงสองคนที่หมายปองบุคคลเดียวกัน (เช่น รถไฟสองขบวนชนกัน น่ากลัวจะเกิดเรื่องใหญ่แน่)
นอกจากนี้ในกระบวนการแปลงานทุกชนิด ผู้แปลไม่ควรใช้พจนานุกรม 2 ภาษาเพียงอย่างเดียว ผุ้แปลควรใช้พจนานุกรมภาษาเดียว เช่น ไทย-ไทย, อังกฤษ-อังกฤษ หลายๆเล่ม อีกทั้งยังต้องค้นคว้าหาความรู้จากหนังสืออ้างอิงประกอบการแปลด้วยพจนานุกรมเฉพาะสาขาต่างๆ ฯลฯ
2.2 ภาษาเฉพาะวรรณกรรมหรือโวหารภาพพจน์
บันเทิงคดี มีรูปแบบภาษาเฉพาะหลายชนิดซึ่งผู้แปลจะต้องรอบรู้และนำมาใช้อย่างเหมาะสม รูปแบบเฉพาะที่ใช้ในบันเทิงคดีซึ่งเรียกว่าโวหารภาพพจน์ อาทิ โวหารอุปมาอุปไมย, โวหารอุปลักษณ์, โวหารเย้ยหยันเสียดสี, โวหารที่ใช่ส่วนหนึ่งแทนทั้งหมด, โวหารที่กล่าวเกินจริง เป็นต้น
2.2.1 รูปแบบของโวหารอุปมาอุปไมย
โวหารอุปมาอุปไมย คือ การสร้างภาพพจน์โดยใช้กลวิธีการเปรียบเทียบเพื่อชี้แจง อธิบายหรือเน้นสิ่งที่กล่าวถึงให้ชัดเจนและเห็นภาพพจน์มากขึ้น
2.2.2 รูปแบบของโวหารอุปลักษณ์
โวหารอุปลักษณ์ หมายถึง การเปรียบเทียบความหมายของสองสิ่งโดยนำความเหมือนและไม่เหมือนของสิ่งที่จะเปรียบเทียบมากล่าว
2.2.3 การแปลโวหารอุปมาอุปไมยและโวหารอุปลักษณ์

ในการแปลโวหารอุปมาอุปไมยและโวหารอุปลักษณ์ที่ปรากฏในภาษาไทยเป็นอังกฤษ ผู้แปลต้องคำนึงถึงความจริงยางประการที่เกี่ยวกับภาษา เป็นเครื่องสื่อสารซึ่งถ่ายทอดความหมายและวัฒนธรรมของชาติของชาตินั้น
________________________________________________________________________________
โครงสร้างพื้นฐานของประโยค
                ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาหนึ่งที่คนไทยต้องเรียนรู้รู้จักและทำความเข้าใจกับมันภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่ ทุกคนต้องเริ่มจากการเรียนรู้โครงสร้างพื้นฐาน เพราะโครงสร้างพื้นฐานของภาษาอังกฤษนั้นมีรูปแบบที่ซับซ้อน และมีรูปแบบในหลากหลายวิธีการ ซึ่งผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษเป็นอย่างดีนั้นก็จะสามารถกระจาย ประโยคออกเป็นรูปแบบโครงสร้างพื้นฐานได้มากมายหลายพื้นฐานด้วยกัน ถึงแม้ว่าประโยคในภาษาอังกฤษจะยาวหรือซับซ้อนเพียงใดผู้ที่มีความรู้ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษก็สามารถที่จะ แบ่งประโยคและกระจายในรูปของโครงสร้างพื้นฐานได้หลากหลายรูปแบบ ประโยคต่างๆได้มาจากประโยคพื้นฐานที่ เรียกว่าประโยคเปลือย หรือบางคนเรียกว่าประโยคแก่น ประโยคซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานนี้หมายถึงประโยคที่ประกอบด้วยประโยคเล็กๆมีคำน้อยๆใช้คำเฉพาะแต่ที่จำเป็นในแต่ละแบบแต่มีใจความสำคัญ ถูกต้องตามหลักภาษา สื่อความหมายกันได้อย่างตรงไปตรงมาแต่อาจจะขาดความไพเราะไม่สละสลวยไม่ได้รสชาติหรือรายละเอียดตรงตามความตั้งใจของผู้แต่งประโยคไปบ้าง ในการแปลประโยคที่ซับซ้อนนั้นหรือที่เรียกว่าประโยคโครงสร้างลึกนั้นถ้าแยกข้อความออกเป็นหน่วยประโยคที่สั้นหรือเล็กที่สุดตามลักษณะของประโยคโครงสร้างพื้นฐานแต่ละแบบแล้วจะช่วยให้การวิเคราะห์ความหมายของประโยคได้ดีขึ้น 
                ฮอร์นบีและคณะ ได้แยกประโยคพื้นฐานไว้ใน  The Advanced Learner's Dictionary of Current English ไว้ 25 รูปแบบ โดยถือตามหน้าที่และความนิยมในการใช้คำกริยาเป็นหลักเรียกว่ากระสวนหรือแบบของคำกริยา
VP      1.…..Vb+ Direct  Object
VP      2…..  Vb+ (not)  to+ Infinitive,  etc.
 VP     3.….. Vb+ Noun or Pronoun+ (not)  to + Infinitive,  etc. 
VP      4.….. Vb+ Noun or Pronoun+ +(to be) + Complement
 VP      5.….. Vb +Noun or Pronoun +Infinitive,  etc. 
VP      6.…..  Vto+ Noun or Pronoun +Present  Participle
VP      7.….. Vb+ Object +Adjective
 VP      8.….. Vb+ Object+ Noun
VP       9.….. Vb+ object+ Past Participle
 VP      10.….. Vb+ object+ Adverb or Adverbial Phrase,  etc.
 VP      11.….. Vb+ that-clause
 VP      12.…..  Vb +Noun or Pronoun +that -clause.
 VP      13.…..  Vb +Conjunctive to+Infinitive,  etc.
VP       14.….. Vb +Noun or Pronoun+ Conjunctive +to+ Infinitive, etc.
VP       15.….. Vb +conjunctive+ Clause
VP       16.….. Vb +Noun or Pronoun+Conjunctive +Clause
VP       17.….. Vb + Gerund, etc.
VP        18.….. Vb + Direct Object +Preposition +Prepositional Object
VP       19.….. Vb + Indirect Object +Direct Object
VP        20.….. Vb + (for) + Complement of Distance. Time. Price, etc.
VP       21.….. Vb alone.
VP        22.….. Vb +Predicative
 VP       23.….. Vb +Adverbial Adjunct
 VP       24.….. Vb +Preposition +Prepositional Object
VP        25.….. Vb +to+ Infinitive


แบบประโยคพื้นฐานของไนด้า
                ประโยคพื้นฐาน kemel sentence ของไนด้ามี 7 แบบดังนี้
1.            Noun+ Verb1
2              .Noun+  Verb2 + Noun
3.            Noun+  Verb3+  Noun + Noun
4.            Noun +Verb4+ Preposition +Noun
5.            Noun+Verb4 +adjective
6.            Noun + Verb4 + Indefinite article+ Noun
7.            Noun + Verb4+ Definite article + Noun.
หมายเหตุ
1.Noun ที่อยู่หน้า verb1 เป็นประธานของประโยค
2. Noun ที่อยู่หลัง verb2  เป็นกรรม
 3. Noun ที่อยู่หลัง verb3 คำแรกเป็นกรรมรอง คำหลังเป็นกรรมตรง
4 . Verb1  Verb2  Verb3  Verb4  หมายถึงคำกริยาประเภทต่างๆ   ไนด้าได้แยกคำกริยาออกเป็น 4 ประเภท
( ดูประเภทของคำกริยาจากตัวอย่าง)
                การแปลภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งนั้น ถ้าผู้แปลมีความสามารถมีความรู้ดีทั้งสองภาษาการตีความหรือวิเคราะห์ความหมายของประโยคจะทำได้อย่างรวดเร็วเพียงแต่คิดในใจสำหรับผู้ที่ยังไม่ค่อยชำนาญการแยกประโยคที่ซับซ้อนเป็นประโยคพื้นฐานจะช่วยได้มากดังนั้นการฝึกฝนจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถพัฒนาเพื่อให้ผู้เรียนภาษาอังกฤษหรือผู้ที่สนใจภาษาอังกฤษสามารถแปลภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่วและรวดเร็ว เพื่อนำไปใช้ในการทำงานต่อไปในอนาคตได้
____________________________________________________________________________________________
การถ่ายทอดตัวอักษร (Transliteration)
โดยปกติแล้วการทับศัพท์คือการจับคู่จากระบบการเขียนหนึ่งไปยังอีกระบบหนึ่งแบบคำต่อคำ หรือตามทฤษฎีคืออักษรต่ออักษร การทับศัพท์ได้พยายามที่จะสร้างความสัมพันธ์หนึ่งต่อหนึ่งทั่วถึงและทำให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ เพื่อให้ผู้อ่านที่ได้รับรู้สามารถสะกดคำต้นฉบับจากคำทับศัพท์ได้ และเพื่อที่จะบรรลุจุดประสงค์นี้ จึงมีการกำหนดหลักการทับศัพท์ที่ซับซ้อนในการจัดการกับตัวอักษรบางตัวในภาษาต้นฉบับที่ไม่สัมพันธ์กับอักษรในภาษาเป้าหมาย ความหมายอย่างแคบของการทับศัพท์คือ การทับศัพท์แบบถอดอักษร (transliteration) ซึ่งเคร่งครัดในการคงตัวอักษรและเครื่องหมายวรรคตอนทุกอย่างเอาไว้ ทั้งนี้การถอดอักษรไม่สนใจความแตกต่างของเสียงในภาษา ตัวอย่างหนึ่งของการถอดอักษรคือการใช้แป้นพิมพ์ภาษาอังกฤษ พิมพ์แทนภาษาอื่นที่ใช้ตัวอักษรต่างออกไปเช่นภาษารัสเซียเนื่องจากมีข้อจำกัดทางเทคนิค หรือการถอดอักษรโบราณเพื่อให้ยังคงรักษารูปแบบการเขียนเดิมเอาไว้
เนื่องจากภาษาไทยเป็นภาษาที่ไม่ได้ใช้อักษรโรมัน จึงมีความจำเป็นที่จะศึกษาแนวทางการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน เพื่อการสื่อสารกับชาวต่างชาติ หรือการสื่อสารในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง โดยเฉพาะในประเด็นที่เป็นชื่อเฉพาะ เช่น ชื่อบุคคล ชื่อสถานที่ ชื่อศิลปกรรม ชื่อผลิตภัณฑ์ ชื่อเทคโนโลยี เป็นต้น นับว่าการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันมีความสำคัญต่อการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยและการถ่ายทอดเทคโนโลยีของไทยแก่ต่างประเทศ การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันมี 2 วิธี คือ การถอดอักษรตามวิธีเขียน (Transliteration) และการถอดอักษรตามวิธีอ่าน หรือการถอดอักษรแบบถ่ายเสียง (Transcription) การถอดอักษรตามวิธีเขียนเป็นการถอดตามตัวอักษรทุกตัวที่มีอยู่ในคำนั้น มีข้อดีคือทราบที่มาของคำนั้น สามารถสะกดคำได้และสามารถถอดอักษรกลับไปยังคำเดิมได้ ข้อด้อยคืออ่านออกเสียงได้ยากและบางคำที่ถอดออกมามีมากเกินความจำเป็นในการออกเสียง
การถ่ายทอดตัวอักษรมีบทบาทในการแปลจากภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่งในกรณีต่อไปนี้ 1. เมื่อในภาษาต้นฉบับมีคำที่ใช้แทนชื่อเฉพาะของสิ่งต่างๆ เช่น ชื่อคน ชื่อสถานที่ ชื่อศิลปกรรม ชื่อผลิตภัณฑ์ ชื่อเทคโนโลยี เป็นต้น 2. เมื่อคำในภาษาต้นฉบับมีความหมายอ้างอิงถึงสิ่งที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรมที่ไม่มีในสังคมของภาษาฉบับแปลจึงไม่มีคำเทียบเคียงให้ เช่น คำที่ใช้เรียกต้นไม้ สัตว์และกิจกรรมบางชนิด  ในการทับศัพท์จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย อักษรโรมันหลายตัวสามารถถอดด้วยอักษรไทยแบบหนึ่งต่อหนึ่ง เช่น d=, r=, l=, f=ฟ เป็นต้น และสามารถแปลงกลับได้ตัวเดิม แต่ก็มีอักษรโรมันบางตัวที่สามารถอ่านได้หลายเสียงในภาษาอังกฤษ หรือไม่มีเสียงที่เหมือนกันในอักษรไทย ตัวอย่างเช่น tube ภาษาอังกฤษแบบอเมริกันอ่านว่า /tub/ จึงทับศัพท์ว่า ทูบ ส่วนภาษาอังกฤษแบบบริเตนอ่านว่า /tyub/ จึงทับศัพท์ว่า ทิวบ์  ส่วนการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน ถึงแม้อักษรไทยบางตัวจะสามารถแทนได้ด้วยอักษรโรมันแบบหนึ่งต่อหนึ่งได้เช่นกัน แต่ก็มีอักษรไทยจำนวนมากที่กำหนดให้แทนด้วยอักษรตัวเดียวกัน หรือต้องใช้อักษรโรมันมากกว่าหนึ่งตัวเข้ามาประกอบ เช่น ฐ-ฑ-ฒ-ถ-ท-ธ=th, ง = ng, สระเอือ = uea บางครั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะสะกดก็ใช้อักษรโรมันต่างกันด้วย เช่น บ ถ้าเป็นพยัญชนะต้นใช้ b ถ้าเป็นพยัญชนะสะกดใช้ p เมื่อแปลงอักษรไปทั้งหมดแล้วทำให้ไม่สามารถถอดกลับมาเป็นอักษรไทยอย่างเดิมได้ และอาจทำให้คำอ่านเพี้ยนไปบ้าง ตัวอย่างเช่น บางกอก ทับศัพท์ได้เป็น Bangkok แต่ชาวต่างประเทศอาจจะอ่านว่า แบงค็อก ซึ่งก็เป็นเพียงเสียงอ่านที่ใกล้เคียงเท่านั้น ไม่ใช่เสียงที่แท้จริง
นอกจากนี้ ไม่ควรสับสนระหว่างการทับศัพท์กับการแปล ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนหรือเลือกคำในภาษาเพื่อสงวนความหมายดั้งเดิมเอาไว้ ในขณะที่การทับศัพท์เป็นการแปลงตัวอักษรเท่านั้น
 ____________________________________________________________________________________________
ประเภทของข้อความ (Text Types)
                จุดประสงค์ของงานเขียนคือเพื่อให้ข้อมูล ชักชวนหรือเพื่อความบันเทิง ทุกงานเขียนจะมีรูปแบบที่แตกต่างกัน ความหมายของบทความ และลักษณะที่น่าสังเกตของบทความในหนังสือพิมพ์ไว้ พอสรุปได้ว่า บทความ หมายถึง เรื่องที่ให้สาระ ข้อเท็จจริง ความรู้ เสนอความคิดเห็น แตกต่างจากบันเทิงคดี บทความในหนังสือพิมพ์จะมีลักษณะที่น่าสังเกตคือ จะมีเนื้อหาไม่ยาวมากนัก ใช้ย่อหน้าสั้นๆ นำเรื่องพื้นๆ ที่รู้ๆ กันอยู่แล้วมาตีพิมพ์ หรือนำเรื่องเล็กๆ ที่คนมองข้ามมาเติมสีสันให้น่าอ่าน บทความอาจมีการเน้นเนื้อหาที่ตัวเหตุการณ์และแนวโน้มในอนาคต ฉะนั้น บทความจึงเป็นความเรียงประเภทหนึ่งซึ่งมีจุดประสงค์หลายลักษณะ เช่น เพื่อแสดงความรู้ เสนอข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ตั้งข้อสังเกต วิเคราะห์วิจารณ์ ฯลฯ โดยต้องเขียนอย่างมีหลักฐาน มีเหตุผล น่าเชื่อถือ หากมีข้อเสนอแนะใดๆ ต้องเป็นไปในทางสร้างสรรค์
1. Descriptive writing (การเขียนบรรยาย) มีจุดประสงค์ที่จะบรรยายถึงบุคคล สถานที่ หรือเหตุการณ์ จนกระทั่งผู้อ่านมีภาพของสิ่งนั้นในใจ ผู้เขียนต้องให้รายละเอียดที่ชัดเจน เป็นจริงเป็นจัง จนเสมือนกับการระบายสีภาพสำหรับผู้อ่าน
 การเขียนบรรยาย (Descriptive) มีรูปแบบการเขียน คือ รายงานการสังเกตและข้อเขียนเชิงบรรยาย การเขียนประเภทการบรรยายนี้ อาจเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในการเขียนประเภทการเล่าเรื่องและการอธิบายเป็นแบบที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างว่า ดูเป็นอย่างไร สัมผัสอย่างไร รสเป็นอย่างไร กลิ่นเป็นอย่างไร เพื่อให้ความรู้สึกแก่ผู้อ่าน โดยทั่วไป จึงใช้รายละเอียดของประสาทสัมผัส ข้อเขียนอาจเป็นการบรรยายเป็นรายการ คือให้รายละเอียดจุดต่อจุด หรือบรรยายเป็นเรื่องราว เพื่อให้ผู้อ่านสนใจเค้าโครงเรื่องและแก่นของเรื่องที่บรรยาย เช่น บรรยายถึงต้นไม้ในสวนหลังบ้านของฉัน การไปเยี่ยมผู้ป่วยเด็กในโรงพยาบาล
2. Narrative writing (การเขียนเรื่องเล่า) เรียงความแบบเล่าเรื่องเป็นการบอกเรื่องราวเกี่ยวกับประสบการณ์ส่วนบุคคลรวมทั้งเกี่ยวกับผู้อ่านด้วยการอธิบายข้อมูล รูปแบบจะเหมือนบทสนทนากับผู้อ่านโดยเน้นไปที่ประเด็นตามความเห็นของผู้เขียน สามารถใส่บทสนทนาเพื่อใช้ในการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวผู้สนทนาได้ดีขึ้น โดยหัวข้อจะเกี่ยวข้องกับเรื่องชีวิตประจำวันหรือสิ่งที่เกิดขึ้นปกติและไม่ปกติเรื่องราวจะบอกเล่าเป็นลำดับ ว่าเรื่องเกิดขึ้นอย่างไรจากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดจบเรื่อง หรืออาจจะเริ่มจากจุดสิ้นสุดมาหาจุดเริ่มต้นเพื่อสร้างความน่าสนใจ ควรใส่ความสำคัญของสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็น คน สถานที่ เหตุการณ์ ใช้คำคุณศัพท์และกริยาเพื่อขยายความ สร้างให้ผู้อ่านเกิดจินตนาการถึงรายละเอียดเรื่องราว อธิบายข้อมูลสนับสนุนการดำเนินเรื่อง ผู้อ่านควรรู้สึกมีส่วนร่วมและเหมือนอยู่ในเหตุการณ์จุดสำคัญที่แสดงถึงความสำเร็จในการเขียนประเภทนี้ต้องให้ผู้อ่านเข้าใจในเรื่องและรู้สึกอยากจินตนาการเรื่องราวต่อไป
3. Recount or Story telling (การเล่าเรื่อง) เป็นการบอกเล่าเรื่องราวความรู้ต่างๆ ที่อยู่กับตัวบุคคล (Tacit knowledge) จากประสบการณ์การดำเนินชีวิต เรื่องที่ซาบซึ้ง ประทับใจ หรือได้จากการศึกษา การท างานที่ สั่งสมเป็นทักษะแนวปฏิบัติที่ดี หรือจากพรสวรรค์ ให้ บุคคลอื่นฟัง เพื่อให้ผู้ฟังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการ ท างานของตนเองได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาเริ่มต้นศึกษาใน เรื่องนั้นๆ ใหม่ โดยกระบวนการเล่าเรื่องนี้จัดเป็นเครื่องมือ ด้านการจัดการความรู้ที่สามารถจัดเป็นทรัพย์สินทาง ปัญญาที่สัมผัสไม่ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเรื่องราวสามารถทำได้ หลายรูปแบบ เช่น รูปแบบการเขียนเรื่องเล่า การเล่าเรื่อง ผ่านสื่อต่างๆ (คลิปวิดีโอ สไลด์นำเสนอ) เป็นต้น 
4. Discussion (การอภิปราย) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูล อาจจะเปรียบเป็นการอภิปราย เป็นการเสนอทั้งข้อดีและข้อเสียของหัวข้อที่กำลังเขียน มีการนำเสนอข้อมูลประกอบการพิจารณา เป็นข้อมูลที่ไม่มีอคติ มองอย่างเป็นกลาง พยายามให้น้ำหนักทั้งข้อดีและข้อเสียพอๆกัน แต่ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นกลางร้อยเปอร์เซ็นต์
5. Exposition or Argument (การโต้แย้ง) ในการเขียนเรียงความโต้เถียงนี้ ต้องแสดงเหตุผลในสองด้าน เหตุผลเพื่อสนับสนุนด้านหนึ่งและอีกด้านคือด้านที่เป็นข้อโต้แย้ง โดยที่ทั้ง 2 ด้านต้องแสดงเหตุผลโต้แย้งเพื่อสนับสนุนเหตุผลในการโต้แย้ง แต่ควรมีความสมดุลในเหตุและผลที่จะนำเสนอโดยอาศัยต้องใช้ข้อมูล สถิติและข้อคิดเห็นสนับสนุนประกอบ
สิ่งที่นำมาสนับสนุนความคิดจะต้องโน้มน้าวผู้อ่านให้เชื่อประเด็นที่คุณโต้แย้ง สิ่งสำคัญคือข้อมูลสนับสนุนต้องน่าเชื่อถือ และเป็นเรื่องจริงพิสูจน์ได้ มาสนับสนุนงานเขียนประกอบกับการวิเคราะห์ให้ผู้อ่านเชื่อและคิดว่าความคิดเห็นของผู้เขียนถูกต้อง
 argument เป็นการนำเสนอข้อมูลชนิดที่คนเขียนเลือกข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และพยายามจูงใจคนอ่านให้คล้อยตามความเห็นของคนเขียนที่เขียนอย่างไม่เป็นกลางและเอนเอียงไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างชัดเจน อาจใช้วิธีเขียนโดยใช้คำพูดค่อนข้างแรง เพื่อจูงใจคนอ่านอย่างที่สุด เพราะ argument เป็นการถกเถียงกัน (บางทีอย่างหน้าดำหน้าแดง มีการขึ้นเสียงดัง และพูดอย่างมีอารมณ์)
6. Procedure (การเขียนที่เน้นการดำเนินงาน) เป็นประเภทงานเขียนที่แสดงวิธีการบางอย่างที่สมารถทำได้เป็นขั้นตอน
เริ่มต้นด้วยการแสดงจุดมุ่งหมายและวิธีการ ระบุทิศทางสำหรับวิธีการลำดับขั้นตอนของข้อมูล อาจจะใช้รายละเอียดเฉพาะที่ในการระบุว่าเมื่อใด โดยมีคำเชื่อมในการบ่งชี้ลำดับขั้นตอน
7. Information Report เป็นงานเขียนที่ให้ข้อมูลความจริง ในการวางแผนด้วยผังความคิดจะช่วยเสริมข้อมูล บทนำประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องนั้น อาจจะเป็นการบรรยาย บอกความหมายหรือแยกกลุ่มของข้อมูล ในส่วนเนื้อหาประกอบด้วยตัวเลขในย่อหน้า ภาษาที่ใช้ต้องชัดเจนและเป็นความจริง ควรใช้ถึงบุคคลที่ 3 นั้นคือ he she it
8. Explanation ใช้อธิบายแผนภูมิ กราฟ ตาราง โดยการออกแบบวางแผนงานเขียน ส่วนบทนำประกอบไปด้วยข้อมูลที่เจาะจงเกี่ยวกับอธิบาย เนื้อหาแต่ละย่อหน้า ประกอบด้วยรายละเอียด ความเป็นจริง และตัวอย่าง มีการจัดการรายละเอียดในขั้นตอนที่ชัดเจน สามารถใช้ present tense ที่ใช้ปกติ ใช้คำเชื่อมที่แสดงถึงเวลา เช่น first, then, meanwhile...
9. Personal Response งานเขียนเชิงวิจารณ์แสดงถึงปฏิกิริยาของคุณที่มีต่อสิ่งที่อ่านหรือสิ่งที่ดู โดยเรียงความของเราจะต้องแสดงให้เห็นชัดเจนว่าเราเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับสถานการณ์ที่กล่าวถึง โดยต้องมีการกล่าวอ้างเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับผู้เขียนและงานประพันธ์นั้นๆ    จุดสำคัญของงานเขียนควรวิเคราะห์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีขึ้นโดยใช้การประเมินจากการเขียนเรียงความเชิงวิจารณ์ โดยอาจกล่าวถึงความประทับใจครั้งและความประทับใจหลังจากที่อ่านบทความหรือดูชิ้นงานแล้ว ในแต่ละข้อคิดเห็นของเราควรต้องมีข้อสนับสนุนด้วยหลักฐานหรือมีการกล่าวอ้างตัวอย่างเปรียบเทียบกับชิ้นงานหรือประสบการณ์ ความคิดเห็นที่แสดงออกมาของเราจะแสดงว่าเรามีความเข้าใจในความรู้สึกของผู้ประพันธ์
ลักษณะงานเขียนที่เจาะจงรูปแบบ
1. The personal letter จดหมายส่วนตัว หรือ personal letter หรือ person – to – person letter นั้น เป็นจดหมายที่บุคคลหนึ่ง เขียนถึงอีกบุคคลหนึ่งด้วยเรื่องส่วนตัวของคู่สนทนานั้นๆ ไม่ได้ว่าด้วยเรื่องธุรกิจหรืออื่นๆ จดหมายส่วนตัวประเภทนี้แบ่งออกได้เป็นอีกหลายชนิด เช่น จดหมายปลอบใจ จดหมายอำลา จดหมายรัก จดหมายขอโทษ จดหมายขอบคุณ จดหมายอ้างอิง จดหมายลาออก และ จดหมายจากครูถึงผู้ปกครอง เป็นต้น
2. The Envelope คือ การจ่าหน้าซองจดหมายโดยให้เขียนชื่อ นามสกุล และที่อยู่ให้ชัดเจน การจ่าหน้าซองจดหมายจะมี 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นชื่อที่อยู่ของผู้รับ และส่วนที่เป็นชื่อที่อยู่ของผู้ส่งซึ่งทั้ง 2 ส่วนคล้ายกับ return address และ inside address
3. The formal Letter สิ่งที่ผู้เขียนต้องระวังมากที่สุดในการเขียนจดหมายภาษาอังกฤษ คือรูปแบบจดหมายและภาษาที่ใช้ในการเขียนจดหมายซึ่งภาษาที่ใช้เขียนจดหมายรวมทั้งรูปแบบจดหมายจะมี 2 อย่างคือ แบบเป็นทางการ (formal) และ แบบไม่เป็นทางการ (informal)ถ้าเขียนจดหมายแบบเป็น ทางการภาษาที่ใช้รวมทั้งรูปแบบจดหมายก็ต้องใช้แบบเป็นทางการแต่ถ้าเขียนจดหมายแบบไม่เป็นทางการ จะใช้ภาษาและรูปแบบจดหมายง่ายๆ สบายๆ จดหมายที่เป็นทางการ (formal letter) เช่น จดหมายธุรกิจ (business letter) หรือจดหมายสมัครงาน (application for a job)
4. Letter to the editor คือ บทบรรณาธิการคือ บทความที่แสดงทัศนะที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น บทความนี้อยู่ในความดูแลของกองบรรณาธิการที่จะมอบหมายให้บรรณาธิกรเป็นผู้เขียน หรือมอบหมายให้ผู้เขียนคนใดเขียนประจำหรือหมุนเวียนกันไปตามความถนัดของนักเขียนแต่ละคนก็ได้ ทั้งนี้ แนวคิดที่นำเสนอในบทบรรณาธิการถือเป็นจุดยืนทางความคิดหรือแสดงนโยบายหลักของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น การเขียนบทบรรณาธิการ
5. Postcards การเขียนโปสการ์ดปกติ จะใช้เขียนถึงเพื่อนและเป็นการเขียนอย่างไม่เป็นทางการ นิยมเขียนเป็นการ์ดอวยพรในวันหยุด มีรูปภาพเป็นส่วนประกอบ ทำให้ผู้รับได้สัมผัสถึงความรู้สึกจากผู้ส่ง
6. Invitations (การเชื้อเชิญ) เป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้ทางด้านภาษาที่ใช้ในการเขียนและความละเอียดรอบคอบอย่างมาก เพราะหากเกิดความผิดพลาดก็จะกระทบกับภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของเจ้าภาพหรือองค์กรได้ ดังนั้นผู้ที่เป็นเลขานุการหรือผู้ที่ไม่ใช่เลขานุการแต่มีหน้าที่ในการจัดทำบัตรเชิญจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องขององค์ประกอบและสำนวนที่ใช้ในบัตรเชิญเป็นอย่างดี ก่อนจะลงมือเขียนในบัตรเชิญนั้นผู้จัดทำจะต้องรู้ก่อนว่างานเลี้ยงที่จะจัดนั้นเป็นงานประเภทใด
7. Diary Extract การเขียนบันทึก  คือ การเขียนบันทึกข้อมูลที่เป็นประสบการณ์ความรู้หรือข้อความสำคัญในการจดบันทึก ต้องบอกแหล่งที่มา หรือ วัน เวลาที่จดบันทึกได้ด้วย ประเภทของการเขียนบันทึก มี 2 ประเภท ดังนี้ คือ การเขียนบันทึกเหตุการณ์ เป็นการเขียนเรื่องราวที่ได้พบเห็นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อเป็นการบันทึกความรู้ เตือนความจำ บรรยายความรู้สึก หรือแสดงข้อคิดเห็นและการเขียนบันทึกเหตุการณ์ประจำวัน เป็นการเขียนเรื่องราวส่วนตัวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือที่พบเห็นจากการเดินทาง เพื่อเตือนความจำ บันทึกความรู้ ความรู้สึก และข้อคิดเห็น
8. Interviews/ Dialogues  เป็นการเขียนงานสัมภาษณ์ระหว่างบุคคล 2 คน ซึ่งคนหนึ่งเป็นผู้ถามและอีกคนเป็นผู้ตอบคำถาม โดยใช้กระบวนการให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงของผู้ให้สัมภาษณ์
9. Script Writing การเขียนสคริป โดยใช้รูปแบบเป็นขั้นตอน สรุปเนื้อเรื่องของงานทั้งหมด การจัดเวลา สถานที่ การวางโครงเรื่องที่ถูกต้องมีโครงเรื่อง จุดสุดยอดของเรื่อง และบทสรุป
10. Newspaper Report แนวทางการเขียนข่าวเบื้องต้น การเขียนข่าวที่ดี จะต้อง เน้นความถูกต้อง กระชับ และชัดเจน ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับแรก คือ ความถูกต้องแม่นยำ ของข้อมูลในข่าวอาจสามารถสร้างสรรค์งาน โดยการเขียนข่าว ให้มีสีสันและมีพลังได้ แต่ถ้าข้อมูลไม่ถูกต้องแม่นยำนั้น ข่าวดังกล่าวก็จะก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคม นอกจากจะเป็นข่าวที่ไม่มีค่าอะไรแล้ว ยังเป็นข่าวที่ทำร้ายสังคมด้วย สาระสำคัญของการเสนอข่าว ต้องตอบสนองความต้องการในการรับรู้ของคนอ่าน เบื้องต้น อย่างน้อย ในเรื่อง Who - What – When – Where – Why – How ข่าวแต่ละข่าวต้องมีรายละเอียดเบื้องต้นที่ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไรและทำไม
11. Feature Article สารคดีหมายถึง งานเขียนที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อเท็จจริง  เสนอเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลที่มีตัวตนจริง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง มีเจตนาเบื้องต้นในการให้สาระ ความรู้ ความคิด ทั้งนี้ ต้องมีกลวิธีการเขียนให้เกิดความเพลิดเพลินด้วย
12. Editorial บทบรรณาธิการคือ บทความที่แสดงทัศนะที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น บทความนี้อยู่ในความดูแลของกองบรรณาธิการที่จะมอบหมายให้บรรณาธิกรเป็นผู้เขียน หรือมอบหมายให้ผู้เขียนคนใดเขียนประจำหรือหมุนเวียนกันไปตามความถนัดของนักเขียนแต่ละคนก็ได้ ทั้งนี้ แนวคิดที่นำเสนอในบทบรรณาธิการถือเป็นจุดยืนทางความคิดหรือแสดงนโยบายหลักของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น
13. Pamphlet การเขียนแผ่นพับ ส่วนใหญ่แล้วเนื้อหาของแผ่นพับจะเป็นการให้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่อง วัตถุ สิ่งของ บริการสถานที่ซึ่งประกอบอยู่  ตัวอย่างเช่น การจัดนิทรรศการ  การแสดงสินค้า/บริการ  การนำเสนองาน เป็นต้น ปัจจุบัน ยังมีแผ่นพับ จุดประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ โดยตรงซึ่งไม่ได้ประกอบกับเรื่องใดทั้งสิ้นข้างต้น อาจจะเป็นเรื่องที่ต้องสร้างความเข้าใจหรือเรื่องที่อยู่ในกระแส  เช่น แผ่นพับการให้ความรู้ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เป็นต้น
14. Advertising  การเขียนโฆษณา มีความจำเป็นต้องใช้ภาษาที่ดึงดูดความสนใจของคนอ่านคนฟัง นักโฆษณาจึงมักคิดค้นถ้อยคำ สำนวนภาษาแปลก ๆ ใหม่ ๆ นำมาโฆษณาอยู่เสมอ เพื่อเรียกร้องความสนใจจากคนซื้อ ในขณะเดียวกันการโฆษณาต้องใช้ภาษาที่ง่าย ๆ กะทัดรัด ได้ใจความชัดเจนดี น่าสนใจ ให้ทันเหตุการณ์ รวดเร็ว มีเสียงสัมผัสคล้องจอง จดจำได้ง่ายด้วย จึงมีถ้อยคำเกิดใหม่ ๆ อยู่เสมอ
15. Electronic Communication  การสื่อสารข้อมูลหรือยุคแห่งการสื่อสารสารสนเทศ และการสื่อสารข้อมูล ดังกล่าวจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำคัญ องค์การทางธุรกิจมากมาย ถ้าหากขาด การสื่อสารข้อมูลจะทำให้ธุรกิจด้านนี้เกิดความขัดข้องเป็นอย่างมาก การสื่อสารข้อมูลโดยการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปในการติดต่อ สื่อสารส่งผ่านข้อมูลระหว่างกัน การใช้ข้อมูล การใช้ฮาร์ดแวร์ และซอฟแวร์ร่วมกัน เช่น การรับ-ส่ง e-mail
_____________________________________________________________________________________
หลักการแปลวรรณกรรม
                วรรณกรรมเป็นหนังสือที่แต่งขึ้นด้วยความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งมีทั้งแบบร้อยแก้วและแบบร้อยกรอง โดยปกติวรรณกรรมนั้นเป็นงานเขียนที่จัดไว้ในประเภทบันเทิงคดี ซึ่งได้แก่ นวนิยาย เรื่องสั้น นิทาน นิยายบทละคร การ์ตูน บทภาพยนตร์ บทเพลง ซึ่งทำให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลินและความรู้ แต่การแปลวรรณกรรมนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือการรักษาความหมายเดิมให้ครบถ้วนสมบูรณ์ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากต้นฉบับ ซึ่งผู้แปลนั้นจะต้องใช้ศิลปะที่ละเอียดอ่อนลึกซึ้ง เพราะงานแปลลักษณะนี้เป็นงานศิลปะอย่างแท้จริง ดังนั้นในที่นี้จะกล่าวหลักการแปลวรรณกรรมที่ประกอบไปด้วย หลักการแปลนวนิยาย หลักการแปลบทละคร หลักการแปลบทภาพยนตร์ หลักการแปลนิทาน นิยาย หลักการแปลเรื่องเล่า หลักการแปลการ์ตูนและหลักการแปลกวีนิพนธ์
                โดยเริ่มจากหลักการแปลนวนิยาย ในงานประเภทนี้มีความสำคัญมากในวงการแปล เพราะคุณค่าของวรรณกรรมนั้นจะอยู่ที่ศิลปะในการใช้ภาษาของผู้แปลที่สามารถใช้ถ้อยคำสำนวนให้สละสลวยไพเราะสอดคล้องกับต้นฉบับได้เป็นอย่างดี การแปลชื่อเรื่องของวรรณกรรมนั้นเป็นความสำคัญอันดับแรกซึ่งเป็นเหมือนใบหน้า ดังนั้นผู้แต่งจึงต้องพิถีพิถันกับชื่องานเพื่อให้เร้าใจผู้อ่านอยากอ่านเนื้อเรื่อง ซึ่งการแปลชื่อเรื่องแบ่งได้เป็น 4 แบบคือ แบบที่ 1 แบบไม่แปล หมายถึง ใช้ชื่อเดิมด้วยวิธีการถ่ายทอดเสียงหรือถ่ายทอดตามตัวอักษรวงเล็บทับศัพท์ เช่น Coma - โคม่า แบบที่ 2 คือ แปลตรงตัว หากต้นฉบับนั้นมีความสมบูรณ์ครบถ้วนแล้วโดยรักษาความหมายของคำด้วยภาษาไทยได้ดีและกะทัดรัดเช่น วิญญาณขบฏ Spirit Rebellious แบบที่ 3 เป็นการแปลแบบบางส่วนหรือดัดแปลงมาบางส่วน ซึ่งวิธีนี้จะใช้ก็ต่อเมื่อชื่อในต้นฉบับนั้นห้วนเกินไปไม่น่าดึงดูด เช่น Animal Farm - การเมืองของสัตว์ และแบบที่ 4 เป็นการตั้งชื่อใหม่โดยการตีความจากชื่อเรื่องและเนื้อเรื่อง โดยผู้แปลนั้นจะต้องใช้ความเข้าใจวิเคราะห์จับประเด็นและลักษณะเด่นของเรื่องก่อน จึงสามารถตั้งชื่อใหม่ที่ดีได้เช่น gone with the wind - วิมานลอย
                ในส่วนของการแปลบทสนทนานั้น บทสนทนาเป็นถ้อยคำโต้ตอบกันของตัวละคร ซึ่งจะใช้ภาษาพูดหลายระดับแตกต่างกันตามสถานภาพทางสังคมของผู้พูดในบางครั้งภาษาพูดเต็มไปด้วยคำแสลง คำสบถ ดังนั้น จะต้องแปลให้เป็นธรรมชาติสอดคล้องกับฐานะของผู้พูดโดยรักษาความหมายโดยนัยไว้ให้ครบครบถ้วนอย่าแปลคำตอบคำว่าจะทำให้ฟังดูแข็งๆไม่เป็นธรรมชาติ และในส่วนการแปลบทบรรยายนั้นผู้แปลมักจะมีปัญหาในเรื่องของระดับของภาษาซึ่งเกิดจากภาษา 2 ประเภทคือ ภาษาสังคม ภาษานั้นจะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งเปลี่ยนตามสภาพแวดล้อมของผู้ฟัง กาลเทศะ และอารมณ์ ดังนั้นเมื่อแปลบางครั้งผู้แปลจำเป็นค้นคว้าที่มาของคำนั้นนั้นให้ถ่องแท้ ส่วนภาษาวรรณคดีนั้นเป็นภาษาที่ใช้เขียนในงานวรรณกรรมต่างๆ มีความไพเราะสละสลวย ไม่นิยมใช้พูดจากันในชีวิตประจำวัน โดยผู้แปลจะคำนึงถึงลีลาการเขียนซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของผู้เขียน หลักการแปลวรรณกรรมนั้นจะเริ่มด้วยการอ่านเรื่องราวให้เข้าใจเพื่อจับใจความสำคัญทั้งหมดก่อนและทำแผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครสำคัญในเรื่องจากนั้นจึงวิเคราะห์ด้วยคำสำนวนหาคำความหมายของคำศัพท์ที่ไม่เคยรู้จักและลงมือแปลภาษาไทยด้วยท่านถ้อยคำที่สำนวนที่เรียบง่ายและการใช้ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ
                หลักการแปลบทละคร จะเห็นได้ว่าในบทละครนั้นส่วนใหญ่จะเป็นบทเจรจาหรือพูดซึ่งเป็นตัวดำเนินเรื่องให้ต่อเนื่องกัน บนละครที่ดีนั้นจะ ไม่ยืดยาว เป็นถ้อยคำที่สั้นกะทัดรัด ชัดเจน แต่ผู้แสดงจะแสดงให้เห็นกริยาท่าทางต่างๆ โดยผู้แปลมักจะแปลการบอกบทให้แสดงท่าทางไว้ในวงเล็บ ในส่วนของบทบรรยายละครนั้นจะมีการบรรยายฉาก สถานที่ เวลา และการปรากฏตัวของตัวละคร ซึ่งส่วนมากจะบรรยายก่อนเปิดม่าน ในวิธีการแปลนั้นจะเริ่มด้วยการอ่านต้นฉบับเพื่อทำความเข้าใจตั้งแต่ต้นจนจบ ในการอ่านครั้งแรกนั้นเป็นการอ่านเพื่อทำความเข้าใจเนื้อหาทั้งหมด เพื่อตอบคำถามว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร และเมื่อใด ต่อมาอ่านเพื่อค้นหาความหมายคำที่ไม่รู้จักโดยอาจจะใช้พจนานุกรม และเข้าสู่ขั้นการแปลโดยการใช้ภาษาที่เหมาะสมกับสถานะและบริบทของตัวละคร
                หลักการแปลบทภาพยนตร์ภาพยนตร์นั้น มีจุดประสงค์หลัก 2 อย่างคือ นำบทแปลนั้นไปพากย์ โดยผู้แปลจะต้องระวังในเรื่องของคำพูดที่ต้องตรงจังหวะกับการขยับริมฝีปากของผู้แสดง หรือนำบทแปลไปเขียนคำบรรยายในฟิล์มดั้งเดิม ซึ่งจะมีข้อจำกัดในเรื่องความพอเหมาะของเนื้อหากับกรอบภาพและผู้ชมจะสามารถจับผิดได้จากการเปรียบเทียบคำพูดกับนักแสดง ลักษณะเนื้อหาด้านในนั้นจะเหมือนกับบทละครซึ่งประกอบไปด้วยคำสนทนาเป็นส่วนใหญ่ แต่ผู้แสดงจะมีจำนวนมากกว่า นอกจากนี้การแสดงยังมีการเคลื่อนไหวเร็วกว่ามาก ดังนั้นผู้แปลจึงต้องตระหนักในลักษณะเฉพาะของบทภาพยนตร์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด โดยในการแปลนั้นจะทำเช่นเดียวกับการแปลบทละครซึ่งจะต้องอ่านทั้งข้อความ ภาพและฉากพร้อมกันโดยให้มีความสัมพันธ์ต่อกัน
                หลักการแปลนิทาน นิยาย นิทานนั้นนับได้ว่าเป็นบันเทิงคดีที่มีมาแต่โบราณเป็นเรื่องเล่าที่ใช้วิธีบรรยายแบบพรรณนาแบบพื้นไม่มีวิธีการซับซ้อน ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้คือ Tale เป็นเรื่องเล่าที่แต่งขึ้นอาจจะเล่าเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรองก็ได้แต่มีการใช้วิธีเล่าที่แปลก Myth หมายถึงเรื่องและเล่าที่รู้จักกันมาแต่โบราณเป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับทางศาสนา มีปฏิหารของพระเจ้าและพลังอำนาจลึกลับเหนือธรรมชาติ Fable หมายถึงเรื่องเล่าสั้นๆที่ให้เห็นสัจธรรมหรือความจริงบางอย่าง Fairy Tail หมายถึงนิทานที่เน้นเรื่องเกี่ยวกับเทพเจ้า และ Legend หมายถึงเรื่องราวชีวิตของนักบุญซึ่งครอบคลุมไปถึงชีวิตบุคคลธรรมดาที่ไดทำความดีด้วย วิธีการแปลนิทานนั้นจะเริ่มโดยการอ่านครั้งแรกอย่างเร็วเพื่อทำความเข้าใจและตอบคำถามทั้ง 5 ดังต่อไปนี้คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม ถัดมาคืออ่านเพื่อค้นหาความหมายของคำที่ไม่ทราบความหมายหลังจากนั้นจึงเขียนบทแปลซึ่งการใช้สรรพนามที่ควรจะใช้ภาษาเก่า เช่น เจ้า ข้า ตอนจบก็เป็นคำสอน ส่วนการแปลชื่อของเรื่องนี้สามารถใช้วิธีแปลตรงตัวได้
                หลักการแปลเรื่องเล่า เรื่องเล่านั้นเป็นเนื้อเรื่องที่แฝงมุขตลกอยู่ โดยผู้อ่านจะต้องเข้าใจมุขตลกที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อนั้น ซึ่งเรื่องเล่ามักจะประกอบด้วยตัวละครสำคัญจำนวนอย่างน้อย 1 - 2 ตัว และเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแบบรวดเดียวจบเพื่อให้กระชับความซึ่งในตอนจบจะเป็นส่วนที่ตลกและเป็นจุดเด่นของเรื่อง ในการแปลเรื่องเล่านั้นจะเริ่มโดยจากการอ่านครั้งแรกเร็วๆเพื่อทำความเข้าใจซึ่งแบ่งเป็น 4 ตอน โดยตอบคำถามดังนี้คือ ตอนที่ 1 ตอบคำถามว่าใคร ตอนที่ 2 ตอบคำถามว่าใครและทำอะไร ตอนที่ 3 ตอบคำถามว่าใครทำอะไร และตอนที่ 4 คือ ทำอะไรและค้นหาปมอารมณ์ขัน ต่อไปเป็นการอ่านอย่างช้าๆเพื่อค้นหาความหมายคำหรือวลีที่ไม่เข้าใจ หลังจากนั้นจึงเขียนบทแปลซึ่งจะใช้ภาษาระดับกลางมีความกำกวมและแฝงอารมณ์ขันโดยผู้แปลจะต้องเลือกคําที่ฟังดูแล้วตลก
                หลักการแปลการ์ตูน การ์ตูนนั้นเป็นว่ารักเป็นบันเทิงคดีที่ให้ความบันเทิงทุกอย่างแต่ผู้อ่านเช่นเดียวกับเรื่องสั้นโดยผู้อาจจะสามารถเชื่อมโยงการสื่อความหมายด้วยภาพกับภาษาเข้าด้วยกันหลักสำคัญในการแตกการ์ตูนนั้นคือการใช้คำแปลที่สั้นชัดเจนเข้าใจได้และสื่อความหมายได้ ในส่วนของวิธีการแปลนั้นจะมีขั้นตอนคล้ายคล้ายกับการแปลเรื่องเล่าโดยเริ่มจากการอ่านครั้งแรกจะอ่านเร็วเร็วๆเพื่อทำความเข้าใจคำพูดและภาพและตอบคำถามเหมือนกับการแปลเรื่องเล่า ต่อจากนั้นจึงเขียนบทเพลงโดยเมื่อเข้าใจเนื้อหาทั้งหมดแล้วก็จะอ่านซ้ำอย่างละเอียดเพื่อเตรียมการเขียนโดยข้อระมัดระวังในการไปการ์ตูนคือความจำกัดของคำในกรอบคำพูดถ้าใช้คำยาวยาวๆจะทำให้ยืนอยู่บนกรอบดังนั้นจึงต้องมีการปรับตัวจำนวนคำลงให้พอดี
                หลักการแปลกวีนิพนธ์ กวีนิพนธ์นั้นเป็นวรรณกรรมที่แต่งขึ้นเป็นร้อยกรอง มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัวได้แก่ การจำกัดจำนวนคำ จำนวนพยางค์ จำนวนบรรทัด เสียงหนักเบา การสัมผัสและจังหวะ ที่จะทำให้เกิดความไพเราะโดยมีจุดมุ่งหมายให้ได้ความรู้สอนศีลธรรมและให้บันเทิงด้วย ดังนั้นในการแปลจะต้องแปลให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของผู้แต่ง โดยลักษณะการแปลแบ่งได้ออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ การแปลเป็นร้อยกรอง ซึ่งมุ่งเน้นทางเนื้อหาสาระและความไพเราะของภาษาโดยผู้แปลพยายามเล่นคำ เล่นความหมาย ให้ตรงกับต้นฉบับทุกจังหวะ ซึ่งเหมาะสำหรับการแปลภาษาที่มีฉันทลักษณ์แบบเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน และการแปลเป็นร้อยแก้วที่ประณีต มีจุดประสงค์เพื่อเพียงการสื่อสารความคิด วัฒนธรรมอื่นๆในกวี ความสะดวกรวดเร็วและความชัดเจนของเนื้อหา แม้จะแปลเป็นร้อยแก้วแต่ก็ยังคงองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น จังหวะ สัมผัสนอก สัมผัสใน สัมผัสอักษร และการเล่นคำ
                จะเห็นได้ว่าการแปลวรรณกรรมนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้แปลต้องมีความรู้ในเรื่องของประเภทของวรรณกรรมและหลักการแปลของวรรณกรรมแต่ละประเภท แต่อย่างไรก็ตามในการแปลย่อมมีปัญหา คือ ด้านความเข้าใจที่เกิดจากรูปแบบแปลกใหม่ของบทกวี ดังนั้นผู้แปลจึงจำเป็นต้องเข้าใจภูมิหลังของกวีมากพอสมควรจึงจะทำให้เกิดความเข้าใจที่ถ่องแท้ได้ และการเลือกใช้ถ้อยคำสำนวนก็เป็นสิ่งที่สำคัญ โดยหลังจากที่เข้าใจความคิดของกวีนั้นแล้วก็จะสามารถหาคำแปลที่สั้นกะทัดรัดในจำนวนที่จำกัดตามลักษณะฉันทลักษณ์ได้ ซึ่งเป็นงานหนักมากของผู้แปลแต่ถ้าหากผู้แปลสามารถทำได้ผลงานแปลที่ออกมาจะมีคุณภาพ มีภาษาสำนวนที่สละสลวย และยังคงความหมายเหมือนเดิมตรงกับต้นฉบับ
____________________________________________________________________________________________
หลักการใช้ Passive Voice
โดยปกติประโยค active ที่กริยามีกรรมตามมา จะสามารถเปลี่ยนเป็นประโยค passive ได้โดยความหมายทั่วไปไม่ได้เปลี่ยนไปมาก คือเอากรรมตัวนั้นมาอยู่ในตำแหน่งประธานแล้วตามด้วยกริยา be และเปลี่ยนกริยาเป็นช่อง สังเกตได้ว่าในประโยค passive  กรรม ของกริยาในประโยค active จะไปอยู่ในตำแหน่งประธาน  และต้องมี กริยา be  (ซึ่งแปลว่า "ถูก") และกริยาเดิมในประโยค active จะเปลี่ยนไปเป็นกริยาช่อง ส่วน ประธานในประโยค active จะไปอยู่ด้านหลังประโยคและมีคำว่า by นำหน้า
ประโยค Passive voice คือประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ หรือประโยคที่อยู่ในรูป Subject + Verb to be + Verb 3 (Past Participle) ซึ่งส่วนมากจะถูกเปลี่ยนจากประโยค Active voice (ประโยคที่อยู่ในรูป Subject + Verb1) แต่ก็ไม่ใช่แค่เอามาสลับที่กันเฉยๆ ทุกการเปลี่ยนแปลงย่อมมีเงื่อนไขเสมอ
สำหรับคำกริยาที่จะนำมาใช้ในประโยค Passive Voice ต้องเป็นคำกริยาที่มีกรรมเท่านั้น เพราะคำแปลจะต้องมีคำว่า ใครหรืออะไร ถูกทำอะไรเสมอ ส่วนคำว่า by ที่แปลว่าโดย บางครั้งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ ขึ้นอยู่กับผู้พูด และบางประโยคไม่ต้องมีเลยก็ได้ เช่น
A fish was eaten. ปลาถูกกินไปแล้ว ประโยคนี้ต้องการสื่อแค่ว่าปลาถูกกิน ส่วนอะไรกินปลานั้นไม่สน
A fish was eaten by a cat. ปลาถูกกินไปแล้วโดยแมวตัวหนึ่ง ประโยคนี้เป็นการสื่อความแบบสมบูรณ์
Mr. Tom was arrested yesterday. นายทอมถูกจับกุมเมื่อวานนี้ ประโยคนี้ไม่ต้องใช้ by เพราะรู้อยู่แล้วว่าคนที่จับกุมคือเจ้าหน้าที่ตำรวจ
My watch was stolen last night. นาฬิกาของฉันถูกขโมยเมื่อคืน ประโยคนี้ก็ไม่ต้องบอกก็ได้ว่าใคร เพราะรู้อยู่แล้วว่าเป็นโจรย่องเบาแน่นอน
โครงสร้างก็คล้ายกับ Active Voice ( Tense ทั้ง 12 ที่ได้เรียนไปแล้ว ) เพียงแค่มี Verb to be มาคั่น และกริยาหลักคือ ช่อง 3 หมดเลย และมีอยู่ทั้งหมด 12 รูปแบบประโยคเช่นกัน ถ้าจะพูดให้ฟังใหม่ก็คือว่า Tense ย่อย มี 12 ตัว  แต่ละตัวสามารถแบ่งออกเป็นสองชนิด ดังนี้

Present Tense
Present simple tense (Active voice)
Present simple tense (Passive voice)
Present continuous tense (Active voice)
Present continuous tense (Passive voice)
Present perfect tense (Active voice)
Present perfect tense (Passive voice)
Present perfect continuous tense (Active voice)
Present perfect continuous tense (Passive voice)
Tense ใหญ่ๆ มี 3 Tense คือ Present Tense / Past Tense / Future Tense
-                   แต่ละ Tense แบ่งย่อยออกเป็น 4 Tense ย่อย คือ Simple / Continuous / Perfect / Perfect Continuous
-                   แต่ละ Tense ย่อย แบ่งรูปแบบประโยคออกเป็น 2 ชนิด คือ Active Voice / Passive Voice
Tense ทั้ง 12 ที่เรียนไปแล้วเป็นประโยค Active Voice คือ ประธานเป็นคนกระทำทั้งหมด โดยไม่พูดถึง Passive Voice เลย ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ โครงสร้าง Active Voice เสียก่อน ถ้าเข้าใจดีแล้ว การเรียนรู้ Passive Voice ก็จะไม่ยากเท่าไหร่ เพราะต่างกันแค่นิดหน่อยเท่านั้นเอง แต่ถ้าให้เรียนรู้ควบกับไปเลยทั้งหมด เดี๋ยวจะงงกันเสียเปล่าๆ
เหตุผลที่ให้เรียนโครงสร้าง Active Voice ให้เข้าใจเพราะว่ามันเป็นหัวใจของภาษาอังกฤษนั้นเอง ถ้าเข้าใจตรงนี้แล้ว ภาษาอังกฤษก็จะเป็นเรื่องง่ายๆทันที เพราะผู้เรียนสามารถอ่านเนื้อหาต่างๆที่เป็นภาษาอังกฤษได้แล้ว อาจติดขัดบ้างที่คำศัพท์ก็สามารถใช้ดิกชันนารีช่วยได้


ตัวอย่างประโยค
Present Tense
Thai people grow rice in rainy season. คนไทยปลูกข้าวในฤดูฝน (ใครปลูกข้าว ก็คนไทยไง)
Rice is grown in rainy season. ข้าวถูกปลูกในฤดูฝน (ใครปลูกไม่สน สนแต่ว่าปลูกเมื่อไหร่)
Rice is grown by Thai people. ข้าวถูกปลูกโดยคนไทย (ปลูกเมื่อไหร่ไม่สน สนแต่ว่าใครปลูก)
That woman is hitting a cat. หญิงคนนั้นกำลังตีแมว (ใครตี ก็ผู้หญิงคนหนึ่งเป็นคนตี)
A cat is being hit. แมวตัวหนึ่งกำลังถูกตี (ไม่ต้องการรู้ว่าใครตี ต้องการรู้แค่ว่าแมวโดนตี)
A cat is being hit by that woman. แมวตัวหนึ่งกำลังถูกตีโดยผู้หญิงคนนั้น (ตัวนี้เป็นประโยคสมบูรณ์ แต่นิยมใช้ด้านบน)
He has built the house for two years. เขาได้สร้างบ้านมาแล้วเป็นเวลาสองปี
The house has been built for two years. บ้านได้ถูกสร้างมาแล้วเป็นเวลาสองปี
Past Tense                                    
We grew rice yesterday. พวกเราปลูกข้าวเมื่อวานนี้
Rice was grown yesterday. ข้าวถูกปลูกเมื่อวานนี้
Future Tense
We will grow rice tomorrow. เราจะปลูกข้าวพรุ่งนี
Rice will be grown tomorrow. ข้าวจะถูกปลูกพรุ่งนี้
               
                หากเรารู้จักรูปแบบประโยคดีแล้ว นั่นคือเรารู้ว่าตัวไหนเป็นประธาน ตัวไหนเป็นกริยา และตัวไหนเป็นกรรม เอามารวมกับความรู้เรื่อง tense และกริยาสามช่องนิดหน่อย เรื่อง Passive voice ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป หากบางคนยังคิดว่ายาก ก็เพียงแค่ฝึกฝน อดทน และพยายาม ยังไงซะคำว่า ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่นก็ยังใช้ได้เสมอ
____________________________________________________________________________________________
ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ
สิทธา พินิจภูวดล
                การเขียนบทแปลที่ดีต้องเขียนด้วย “ภาษาที่เป็นธรรมชาติ” ซึ่งหมายถึงภาษาเขียนของภาษาพูดที่คนไทยทั่วไปใช้กันจริงในสังคมไทยปัจจุบัน โดยเพื่อให้คนไทย หรือผู้อ่านสามารถเข้าใจความหมายได้ทันที และไม่มีอุปสรรคในการรับสารที่สื่อจากบทแปล ซึ่งองค์ประกอบที่นักแปลต้องพิจารณาในการเขียนบทแปลด้วยภาษาไทยที่เป็นธรรมชาตินั้น ได้แก่ องค์ประกอบย่อยของการแปล นั่นคือ คำ ความหมาย การสร้างคำ และสำนวนโวหาร
                คำบางคำนั้นมีความหมายที่แตกกต่างกันหลายอย่างทั้งที่มีความหมายโดยตรงและความหมายโดยแฝง หรือความหมาเชิงเปรียบเทียบนั่นเอง เช่น “เบี้ยว” ความหมายโดยตรงก็คือ ลักษณะของสิ่งของที่มีทรงกลมแต่ไม่กลมไปทั้งหมด อาจมีบิดหรือไม่ตรง และความหมายโดยแฝงคือ ไม่ซื่อสัตย์ ทรยศ หักหลังหรือเชื่อถือไม่ได้ ซึ่งคำบางคำนั้นต่างมีความหมายแตกต่างกันไปตามยุคสมัย เช่น “กู” เดิมแล้วเมื่อก่อนเป็นำสามัญที่ใช้พูดจากันโดยทั่วไป แต่สำหรับยุคปัจจุบันนั้น ถือเป็นคำที่หยาบ และมีความหมายที่เลวลง จำกัดในวงแคบหรือใช้ในกลุ่มเพื่อนที่สนิท นอกจากนี้แล้วในการพูดหรือการเขียนที่ต้องการแสดงอารมณ์ อาจจะนำคำที่มีความหมายไม่ดีมาใช้ให้เกิดความหมายที่ดีขึ้นได้ เช่น ใจดีเป็นบ้า เป็นต้น
                การสร้างคำกริยา ในที่นี้จะขอกล่าวถึง การเสริมท้ายคำกริยาด้วยคำกริยา ซึ่งคำกริยาที่นำมาเสริมนั้น ได้แก่ ขึ้น ลง ไป มา โดยไม่มีความหมายเดิมหลงเหลืออยู่เลย แต่จะกลายเป็นคำบอกปริมาณ และทิศทาง เช่น ทำขึ้น บอกปริมาณว่ามาก, ชัดเจน เช่นเดียวกับ หัวราะขึ้น หรือเกิดขึ้น ช้าลง บอกปริมาณว่ามีเพียงเล็กน้อย มีความหมายเช่นเดียวกับ แก่ลง เสื่อมลง จากไป บอกทิศทางว่าห่างไกลออกไป เช่นเดียวกับ พูดไป คิดไป กลับมา บอกทิศทางว่า ใกล้ เช่นเดียวกับ บอกมา เขียนมา แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าใช้ ไป-มา ขึ้น-ลง คู่กัน จะมีความหมายถึงการทำซ้ำ ๆ เช่น เดินไปเดินมา นั่นคือ การเดินซ้ำหลายหน
                การเข้าคู่คำ คือ การนำคำหลายคำมาเข้าคู่กันเพื่อให้ได้คำใหม่ที่มีความหมายใหม่ต่างไปจากเดิมหรือคงความหมายเดิม โดยคู่คำที่พ้องความหมายจะเป็นคำที่อยู่ในภาษาเดียวกัน หรือคำต่างประเทศหรือคำภาษาถิ่นก็ได้ ซึ่งความหมายโดยส่วนใหญ่ที่ได้จะคงเดิม เช่น ทรัพย์สิน เสื่อสาด เป็นต้น คู่คำที่มีความหมายตรงข้าม ส่วนมากแล้วจะได้ความหมายใหม่ เช่น ผู้ใหญ่ผู้น้อย คนมีคนจน เป็นต้น คำที่มีความหมายต่างกัน มักจะได้คำใหม่ที่มีเค้าความหมายเดิมเหลืออยู่ เช่น ลูกเมีย พี่ป้าน้าอา เป็นต้น
               
สำนวนโวหาร คือ คำกล่าวหรือถ้อยคำคมคายสั้นๆ ที่ผูกเข้าเป็นประโยค และมีความหมายไม่ตรงตามตัว ลักษณะของสำนวนโวหารหรือสำนวนไทยนั้นประกอบด้วย
1.สำนวนที่ประกอบด้วยคำว่า “ให้” ให้ ในสำนวนเช่นนี้ไม่มีความหมายเหมือนเมื่อเป็นกริยาสำคัญ แต่จะมีความหมายอย่างอื่น เช่น จนกระทั่ง เช่นในสำนวน รับประทานให้หมด กับ, แก่ คำที่ตามหลัง “ให้” ทำหน้าที่เป็นกรรมรอง เช่น พ่อค้าขายของให้ลูกค้า เพื่อที่จะ คือบอกจุดมุ่งหมายและผลของการกระทำ ในกรณีเช่นนี้ “ให้” จะวางไว้หน้ากริยาที่วลีที่เป็นกริยาหรือหลังประโยคก็ได้ เช่น ฉันเอาผ้าไปให้เขาตัดเสื้อ เป็นต้น เพื่อที่จะ ให้เป็นส่วนหนึ่งของวลีที่ทำหน้าที่ขยายกริยา ในกรณีเช่นนี้ “ให้” จะวางอยู่ข้างหน้าคำคุณศัพท์ เช่น แต่งตัวให้สบาย เรียนให้เก่ง เป็นต้น
2.สำนวนที่มีคำซ้ำ ในที่นี้หมายถึงคำเดียวกันซ้ำกัน (ซ้ำรูป) และคำที่มีความหมายเหมือนกัน (ซ้ำความหมาย) ซึ่งการให้คำซ้ำนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสียปะปนกันไป ถ้าผู้เขียนไม่ระมัดระวังจริง ๆ ถึงแม้ว่าจะตั้งใจจะให้ดีก็อาจกลายเป็นเสียไปได้ ในส่วนของข้อดีของการใช้คำซ้ำคือ
2.1 เพื่อความไพเราะ ซึ่งคำสั้น ๆ และห้วนนั้น ถ้ามีการซ้ำรูปจะทำให้เสียงทอดยาว อ่อนสลวย ฟังดูไม่ห้วน เช่น เดือดปุด ๆ นอกจากนี้แล้วยังมีคำที่ซ้ำความหมายอีกด้วย เช่น อยู่โดดเดี่ยว เป็นต้น
2.2 เพื่อให้มีความหมายอ่อนลง มักจะใช้กับประโยคคำสั่งเพื่อคลายความบังคับลงให้กลายเป็นขอร้อง แต่บางครั้งคำเหล่านี้ก็แสดงถึงความไม่หนักแน่น ไม่แน่ใจ เช่น พูดดี ๆ นั่งเฉย ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างคำที่ซ้ำความหมายอีกด้วย เช่น แก้วเจียรไนใบนี้บางเบาดี  
2.3 เพื่อให้ได้คำใหม่ ๆ ใช้ เช่น ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ไม่ลอกเลียนแบบใคร คิดขึ้นได้เอง
2.4 เพื่อแสดงว่ามีจำนวนมาก ปริมาณมาก หรือเป็นพหูพจน์ เช่น เด็ก ๆ มากินขนม, มีคนเยอะ ๆ เช่นนี้ อากาศไม่ดีเลย เป็นต้น
โวหารภาพพจน์ คือ โวหารภาพพจน์ คือ กลวิธีการนำเสนอสารโดยการพลิกแพลงภาษาที่ใช้พูด หรือเขียนให้แปลกออกไปจากภาษาตามตัวอักษรทำให้ผู้อ่านเกิดภาพในใจ เกิดความประทับใจ เกิดความรู้สึกสะเทือนใจ เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นภาพอย่างชัดเจน ลักษณะของโวหารภาพพจน์ ได้แก่
1.โวหารอุปมา (Simele) คือ การสร้างภาพพจน์ด้วยการเปรียบเทียบโดยมีจุดมุ่งหมายจะชี้แจงอธิบาย หรือพูดพาดพิงถึง หรือเสริมให้งดงามขึ้น ส่วนใหญ่มักจะใช้คำเชื่อม คือ เหมือนราวกับ ดุจ ประดุจ ประหนึ่ง และอื่น ๆ ที่มีความหมายอย่างเดียวกัน โวหารแบบนี้จะเป็นวลีสั้น ๆ หรือเป็นทั้งประโยค หรือเป็นโคลงกลอนทั้งบทก็ได้ เช่น หน้าแจ่มดังดวงจันทร์วันเพ็ญ เป็นต้น
2.โวหารอุปลักษณ์ (Metaphor) คือ การเปรียบเทียบความหมายโดยนำความเหมือนและไม่เหมือนของสิ่งของที่จะเปรียบเทียบมากล่าว เพื่อแสดงถึงความเก่งของกวีเพราะกวีนั้นจะเลี่ยงการใช้คำพื้น ๆ ไปสู่คำใหม่ที่น่าตื่นตาตื่นใจกว่า แต่ถึงอย่างไรก็ตามก็ยังคงมีรอยเดิมอยู่ในคำนั้น เช่น วัยไฟ เป็นต้น
3.โวหารเย้ยหยัน (Irony) คือ การใช้ถ้อยคำอารมณ์ขันเพื่อยั่วล้อ เย้ยหยัน เหน็บแนมหรือชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่อง และความไม่ฉลาดของสิ่งที่จะกล่าวถึง
4.โวหารขัดแย้ง (Contrast หรือ Antitheses) เป็นการกล่าวโดยขัดแย้งกับความจริงหรือความเชื่อและความคิดเห็นของบุคคลทั่วไป ซึ่งจะเป็นคำกล่าวที่ดูเหมือนว่าจะขัดกันเอง แต่ถ้าหากพิจารณาให้ลึกซึ้งแล้วจะเห็นว่าเป็นความจริง เช่น เชคสเปียร์กล่าวว่า “คนขลาดตายไปแล้วหลายครั้งก่อนตาย” หรือ คำกล่าวของคนไทยที่ว่า “คนดีตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้” เป็นต้น
5.โวหารที่ใช้ส่วนหนึ่งแทนทั้งหมด (Metonnymy) คือการนำลักษณะหรือคุณสมบัติเด่น ๆ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาใช้แทนที่จะเอ่ยนามสิ่งนั้นออกมาตรง ๆ รวมทั้งส่วนประกอบของสิ่งของและของใช้ประจำของบุคคล เช่น ปากกาคมกว่าดาบ เป็นต้น
6.โวหารบุคคลาธิษฐาน (Personification) คือการนำสิ่งที่ไม่มีชีวิต รวมถึงความคิด การกระทำ และนามธรรมอื่น ๆ มากล่าวเหมือนเป็นบุคคล เช่น วานเมฆว่ายฟ้าไปเฝ้าน้อง
7.โวหารที่กล่าวเกินจริง (Hyperbole) จะเน้นให้ความสำคัญและชี้ชัดเพื่อแสดงอารมณ์ที่รุนแรง โดยไม่ได้ต้องการอธิบายข้อเท็จจริงใด ๆ เช่น คิดถึงใจจะขาด
ลักษณะที่ดีของสำนวนโวหาร ได้แก่ ถูกหลักภาษา โดยไม่ขัดกับหลักไวยากรณ์ ถึงแม้ว่าจะพลิกแพลงไม่ตรงตามกฎเกณฑ์บ้าง ไม่กำกวม ต้องมีความชัดเจน แม่นตรง ไม่ชวนให้ไขว้เขว สงสัยหรือไม่ชัดแจ้ง มีชีวิตชีวา ไม่เนิบนาบ เฉื่อยชา ยืดยาด โดยต้องมีความเร้าใจ มีชีวิตชีวา ผู้อ่านอ่านแล้วรู้สึกกระตือรือร้น สมเหตุสมผล มีความน่าเชื่อถือ มีเหตุผลรอบคอบ ไม่อคติ หรือไม่สร้างความหลงผิดให้กับผู้อ่าน คมคายเฉียบแหลม โดยการใช้คำพูดที่เข้มข้น หนักแน่น แฝงข้อคิดที่ฉลาด
ดังจะเห็นได้ว่า หากผู้แปลมีความรู้หรือความเข้าใจในเรื่องของคำหรือธรรมชาติของภาษาแล้ว เมื่อทำการแปลบทแปลหรืองานแปลอื่น ๆ แล้ว ก็จะสามารถแปลงานนั้น ๆ ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และคงความหมายเดิมของต้นฉบับได้อย่างครบถ้วน โดยไม่ขาดหรือตกหล่น สิ่งเหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงความสามารถและพัฒนาการด้านการแปลของผู้แปลที่ดี
_____________________________________________________________________________________
MODEL1: Relations between ideas
เรียงความ(Essay) เป็นทักษะการเขียนที่แสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด ความเห็น ความเข้าใจ ตลอดจนความรู้ให้ผู้อ่านได้รับทราบ  เป็นการเขียนที่มีรูปแบบและวิธีการเขียนที่มีแบบแผน เป็นการถ่ายทอดความคิด ความรู้สึกของตนออกมาเป็นตัวอักษร เพื่อให้ผู้อ่านเกิดการรับรู้ การจะเขียนเรียงความให้ดีนั้น ก่อนอื่นเราจะต้องเข้าใจโครงสร้างของ Essay เสียก่อน เพราะหัวใจหลักของการเขียนเรียงความอยู่ที่รูปแบบโครงสร้างนั่นเอง
โครงสร้างของ Essay ประกอบไปด้วย 3 ส่วนใหญ่ๆดังนี้
1. Introduction: เป็นย่อหน้าแรกของ Essay ใช้ในการเปิดเรื่อง Introduction ที่ดี ควรจะสามารถดึงดูดใจให้ผู้อ่านสนใจและอยากจะอ่าน Essay ของเราต่อจนจบ โดยภายใน Introduction มี Thesis Statement ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับ Title ที่กำหนดไว้ Thesis Statement เป็นประโยคสำคัญที่บอกให้ผู้อ่านทราบว่า Essay เรื่องนี้ต้องการจะกล่าวอะไร
2. Body : ย่อหน้าถัดไปของ Essay เป็นส่วนของเนื้อหาที่เราต้องการจะกล่าวเพื่อสนับสนุน Thesis Statement ของเรา ในส่วนเนื้อหาจะต้องมีใจความหลักหรือ ‘Main idea’ ในทุกๆ ย่อหน้า และในแต่ละย่อหน้านั้น จะมีเพียง ‘Main idea เดียวเท่านั้น โดยแต่ละ Main Idea จะต้องสอดคล้องกับ Thesis Statementของเราด้วย และเราจะต้องเขียนเหตุผลที่จะคอยสนับสนุน ‘Main idea ของเรา หรือที่เรียกว่า Supporting Idea ซึ่งควรมีอย่างน้อย 2 เหตุผล และที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ เราต้องยกตัวอย่างเหตุการณ์ให้ทฤษฎีต่างๆ มาอธิบายประกอบด้วย
2.1) Main Idea 1 ประกอบด้วย Supporting Idea 1.1 และ Supporting Idea 1.2 โดย Supporting Idea 1.1 และ Supporting Idea 1.2 จะต้องสอดคล้องกัน เพื่อใช้ในการสนับสนับ Main Idea 1 การเขียน Main Idea 1 จะต้องเริ่มด้วยประโยคสรุปใจความสำคัญ จากนั้นจึงอธิบาย Supporting Idea นั้นๆให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น และอาจมีการยกตัวอย่างประกอบเพื่อความเข้าใจ
2.2) Main Idea 2 ประกอบด้วย Supporting Idea 2.1 และ Supporting Idea 2.2 โดย Supporting Idea 2.1 และ Supporting Idea 2.2 จะต้องสอดคล้องกัน เพื่อใช้ในการสนับสนับ Main Idea 2 การเขียน Main Idea 2 จะต้องเริ่มด้วยประโยคสรุปใจความสำคัญ จากนั้นจึงอธิบาย Supporting Idea นั้นๆให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น และอาจมีการยกตัวอย่างประกอบเพื่อความเข้าใจ
2.3) Main Idea 3 ประกอบด้วย Supporting Idea 3.1 และ Supporting Idea 3.2 โดย Supporting Idea 3.1 และ Supporting Idea 3.2 จะต้องสอดคล้องกัน เพื่อใช้ในการสนับสนับ Main Idea 3 การเขียน Main Idea 3จะต้องเริ่มด้วยประโยคสรุปใจความสำคัญ จากนั้นจึงอธิบาย Supporting Idea นั้นๆให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น และอาจมีการยกตัวอย่างประกอบเพื่อความเข้าใจ
3. Conclusion: ย่อหน้าสุดท้ายของ Essay เป็นการสรุปสิ่งที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด โดย Conclusion ที่ดีควรเน้นย้ำ Thesis Statement หรือ Main Idea ให้เกิดความชัดเจนในใจของผู้อ่าน ไม่ควรเขียนออกนอกเรื่อง
เรียงความ(Essay) เป็นการถ่ายทอดความคิดและความเข้าใจของผู้เขียนโดยสื่อออกมาเป็นตัวอักษร หลักในการเขียนเรียงความคือจะต้องเขียนไปทิศทางเดียวกันทั้งเรื่อง เพราะฉะนั้นการเข้าใจโครงสร้างของ Essay จึงเป็นหัวใจหลักสำคัญที่จะทำให้งานเขียนของเรามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น งานเขียนที่ดีนั้นจะต้องมีครบทั้ง 3 องค์ประกอบ ซึ่งได้แก่ ส่วนแรกคือ Introduction หรือบทนำ จะเป็นส่วนที่จะบอกให้ผู้อ่านทราบเบื้องต้นว่าเรียงความนี้จะ กล่าวถึงเรื่องอะไร ส่วนที่สอง คือ Body หรือเนื้อความ เป็นส่วนที่รวมเนื้อหา ใจความสำคัญของเรียงความไว้ และส่วนสุดท้ายคือ Conclusion หรือบทสรุป เป็นการทบทวนและย้ำให้ผู้อ่านทราบว่าผู้เขียนต้องการสื่อสารอะไรให้ผู้อ่าน ทราบ โดยเนื้อหาเน้นรวบรวมใจความสำคัญจาก Introduction และ Body
 ________________________________________________________
หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง
                หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันนี้ เป็นการถอดโดวิธีถ่ายเสียง(Transcription) เพื่อให้อ่านคำภาษาไทที่เขียนด้วยอักษรโรมันให้ได้เสียงใกล้เคียง โดยไม่คำนึงถึงการสะกดการันต์และวรรณยุกต์ เช่น จันทร์ = chan, พระ = phra, แก้ว = keao
.ตารางเทียบพยัญชนะและสระ
พยัญชนะไทย
อักษรโรมัน
ตัวอย่าง
ตัวต้น
ตัวสะกด
ข ฃ ค ฅ ฆ


จ ฉ ช ฌ



ซ ทร (เสียง ซ)
ศ ษ ส



ฎ ฑ (เสียง ด) ด


ฏ ต
ฐฑ ฒ ถ ท ธ






ณ น

ผ พ ภ


ฝ ฟ

ล ฬ

ห ฮ
k
kh


ng
ch



s




y
d


t
th






n

b
p
ph


f

m
y
r
l

w
h

k
k


ng
t



t




n
t


t
th






n

p
p
p


p

m
-
N
N

-
-
กา = ka, นก = nok
ขอ = kho, สุข = suk
โคช = kho, ยุค = yuk
ฆ้อง = khong, เมฆ = mek
งาม = ngam, สงฆ์ = song
จีน = chin, อำนาจ =amnat
ฉิ่ง = ching
ชิน = chin, คช = khot
เฌอ = choe
ซา = sa, ก๊าซ = kat
ทราย = sai
ศาล = san, ทศ = thot
รักษา = raksa, กฤษณ์ = krit
สี = si, รส = rot
ญาติ = yat, ชาญ = chan
ฎีกา = dika, กฎ = kot
บัณฑิต = bandit, ษัท =sat
ด้าย = dai, เป็ด = pet
ปฏิมา = patima, ปรากฏ = prakot
ตา = ta, จิต = chit
ฐาน = than, รัฐ = rat
มณฑล = monthon
เต่า = thao, วัตน์ = wat
ถ่าน = than, นาถ = nat
ทอง = thong, บท = bot
ธง = thong, อาวุธ = awut
ประณีต = pranit, ปราณ = pran
น้อย = noi, จน = chon
ใบ = bai, กาบ =kap
ไป = pai, บาป = bap
ผา = pha
พงศ์ = phong, ลัพธ์ = lap
สำเภา = samphao, ลาภ = lap
ฝั่ง = fang
ฟ้า = fa, เสิร์ฟ = soep
ม้าม = mam
ยาย = yai
ร้อน = ron, พร = phon
ลาน = lan, ศาล = san
กีฬา = kila, กาฬ = kan
วาย = wai
หา = ha
ฮา = ha

หมายเหตุ :
                ๑. ในทางสัทศาสตร์ ใช้ h เป็นตังสัญลักษณ์เพื่อแสดงลักษณะเสียงธนิต (เสียงที่มีกลุ่มลมพุ่งตามออกมาในขณะออกเสียง) h ที่ประกอบหลัง k p t จึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทางสัทศาสตร์ดังนี้
                k แทนเสียง ก เพราะเป็นเสียงสิถิล (เสียงที่ไม่มีกลุ่มลมพุ่งตามออกมาในขณะออกเสียง) kn จึงแทนเสียง ข ฃ ค ฅ ฆ เพราะเป็นเสียงธนิต
                p แทนเสียง ป ซึ่งเป็นเสียงสิถิล ph จึงแทนเสียง ผ พ ภ เพราะเป็นเสียงธนิต ไม่ใช่แทนเสียง ฟ
                t แทนเสียง ฏ ต ซึ่งเป็นเสียงสิถิล th จึงแทนเสียง ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ เพราะเป็นเสียงธนิต
                ๒. ตามหลักสัทศาสตร์ ควรใช้ c แทนเสียง จ ซึ่งเป็นเสียงสิถิล และ ch ใช่แทนเสียง ฉ ช ฌ ซึ่งเป็นเสียงธนิต ดังที่ใช้กันในภาษาบาลี-สันสกฤต เขมร ฮินดู อินโดนีเซีย และภาษาอื่นๆ อีกหลายภาษาแต่ที่มิได้แก้ไขเป็นไปตามสัทศาสตร์ เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้ไขว้เขวกับการสะกดและออกเสียงตัว c ในภาษาอังกฤษซึ่งคนไทยมักใช้แทนเสียง ค หรือ ซ ตังอย่างเช่น จน/จิต หากเขียนตามหลักสัทศาสตร์เป็น con/cit ก็อาจออกเสียงตัว c ซึ่งเป็น ค ในคำว่า con และออกเสียง ซ ในคำว่า cit ดังนั้นจึงยังคงให้ใช้ ch แทนเสียง จ ตามที่คุ้มเคย เช่น จุฬา = chula จิตรา = chitttra
สระ
สระไทย
อักษรโรมัน
ตัวอย่าง
อะ, -ั(อะ ลดรูป)
     รร (มีตัวสะกด), อา
รร (ไม่มีตัวสะกด)
อำ
อิ,อี
อึ,อื
อุ,อู
เอะ, -(เอะ ลดรูป), เอ
แอะ,แอ
โอะ, (โอะ ลดรูป),
    โอ,เอาะ,ออ
เออะ,-ะ(เออะ ลดรูป), เออ
เอียะ,เอีย
เอือะ,เอือ
อัวะ,อัว,
--(อัว ลดรูป)
ใอ,ไอ,อัย,ไอย,อาย
เอา,อาว
อุย
โอย,ออย
เอย
เอือย
อวย
อิว
เอ็ว,เอว
แอ็ว,แอว
เอียว
ฤ (เสียง รึ),ฤๅ
ฤ (เสียง ริ)
ฤ (เสียง เรอ)
,ฦๅ
a

an
am
i
ue
u
e
ae
o

oe
ia
uea
ua

ai
ao
ui
oi
oei
ueai
uai
io
eo
aeo
iao
rue
ri
roe
lue
ปะ = pa, วัน = wan, สรรพ = sap,
มา = ma
สรรหา = sanha, สวรรค์ = sawan
รำ = ram
มิ = mi, มีด = mit
นึก = nuke, หรือ = rue
ลุ = lu, หรู = ru
เละ = le, เล็ง = leng, เลน = len
และ = lea , แสง = saeng
โละ = lo, ลม = lom, โล้ = lo
    เลาะ = lo, ลอม = lom
เลอะ = loe, เหลิง = loeng, เธอ = thoe
เผียะ = phai, เลียน = lian
-*, เลือก = lueak
ผัวะ = phua, มัว = mua,
      รวม = ruam
ใย = yai, ไล่ = lai, วัย = wai, ไทย = thai, สาย = sai
เมา = mao, น้าว = nao
ลุย = lui
โรย = roi, ลอย = loi
เลย = loie
เลื้อย = lueai
มวย = muai
ลิ่ว = lio
เร็ว = reo, เลว = leo
แผล็ว = phlaeo, แมว = maeo
เลี้ยว = liao
ฤษี, ฤๅษี = ruesi
ฤทธิ์ = rit
ฤกษ์ = roek
-*, ฦๅสาย = luesai

หมายเหตุ :
                . ตามหลักเดิม อึ อื อุ อู ใช้ u แทนทั้ง ๔ เสียง แต่เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างเสียง อึ อื กับ อุ อู จึงให้ใช้ u แทน อุ อู และ ใช้ ue แทน อึ อื
                ๒. ตามหลักเดิม เอือ อัวะ อัว ใช้ ua แทนทั้ง ๔ เสียง เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างเสียง เอือะ เอือ กับ อัวะ อัว จึงใช้ ua แทน อัวะ อัว uea แทน เอือะ เอือ เพราะ เอือะ เอือ เป็นสระแระสมซึ่งประกอบด้วยเสียง อึ หรือ อื (ue) กับเสียงอะ หรือ อา (a)
                ๓.ตามหลักเดิม เสียง อิว ใช้ iu และเอียว ใช้ iue แต่เนื่องจากหลักเกณฑืนี้เสียงที่มีเสียง ว ลงท้าย และแทนด้วยเสียง o ซึ่งได้แก่ เอา อาว (ao), เอ็ว เอว (eo), แอ็ว แอว (aeo) ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน อิว ซึ่งเป็นเสียง อิ กับ ว จึงแทนด้วย i + o คือ io ส่วนเสียงเอียว ซึ่งมาจาก เอีย กับ ว จึงแทนด้วย ia + o เป็น iao
* ไม่มีคำที่ประสมด้วยสระเสียงนี้ในภาษาไทย
.ความหมายของคำ
                ๒.๑ หน่วยคำ  หมายถึง หน่วยที่เล็กที่สุดละมีความหมาย อาจมีเพียงพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้ เช่น นา ที นาที ลอง กอง ลองกอง นาฬิกา
นานัปการ เชื่อ ก็ เครื่อง
                ๒.๒ คำ หมายถึง หน่วยคำ ๑ หน่วยคำ หรือมากกว่านั้น เช่น หน้า โต๊ะ ลูกเสือ จานผี มหาราช ประชาชน ราชูปถัมภ์ อภิมหาอำนาจ
                ๒.๓ คำประสม หมายถึง หน่วยคำตั้งแต่ ๒ หน่วยคำขึ้นไป เมื่อรวมกันแล้วมีความหมายใหม่หรือมีความหมายเพิ่มขึ้นจากเดิม เช่น ลูกเสือ (คน) จานผี ลมกรด
                ๒.๔ คำสามานยนาม
                                ๒.๔.๑ คำนามทั่วไป เช่น พระ คน เสื้อ สัตว์ แมว นก ต้นไม้ มะม่วง โต๊ะ วิทยุ บันได วัด วัง ถนน จังหวัด แม่น้ำ องค์กร บริษัท
                                ๒.๔.๒ ชื่อภูมิศาสตร์ คือ คำนามทั่วไปที่บอกลักษณะภูมิประเทศตามธรรมชาติ เช่น ภู เขา ภูเขา ควน ดอย พนม แม่น้ำ ลำคลอง ห้วย หนอง บึง เกาะ ทะเล มหาสมุทร แหลม อ่าว หรือคำนามทั่วไปทางภูมิศาสตร์ที่มนุษย์ทำขึ้น เช่น ท่าเรือ ถนน ซอย สะพาน และหมายรวมถึงเขตการปกครองด้วย เช่น ประเทศ จังหวัด อำเภอ แขวง ตำบล หมู่บ้าน
                ๒.๕ คำวิสามานยนาม หมายถึง คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ เช่น
                                ๒.๕.๑ ชื่อบุคคล เช่น พระปรมาภิไธย พระนามราชทินนาม นาม นามสกุล
                                ๒.๕.๒ ชื่อสถานที่และองค์กร เช่น หน่วยงาน วัด วัง โรงเรียน
ตัวอย่าง
                องค์กร                   มูลนิธิคนพิการแห่งประเทศไทย
                หน่วยงาน             กรมสรรพากร
                ๒.๖ คำนำหน้านาม หมายถึง คำที่อยู่หน้าวิสามานยนาม เช่น พระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์ สมณศักดิ์ บรรดาศักดิ์ ยศ คำนำหน้าบุคคลทั่วไป รวมทั้งคำนำหน้าชื่อที่บอกลักษณะ สถานภาพของวิสามานยนามนั้นๆ เช่น ฯพณฯ... ศาสตราจารย์... นาย... นาง... นางสาว... เด็กชาย... เด็กหญิง... ฯลฯ
ตัวอย่าง
                พระอิสริยยศ        พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
                ฐานันดรศักดิ์        พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
                ยศ                           พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
๒.๗ คำทับศัพท์ หมายถึง คำภาษาต่างประเทศที่เขียนด้วยตัวอักษรไทย อาจเป็นคำสามานยนาม เช่น แปซิฟิก เมดิเตอร์เรเนียน ไอบีเอ็ม ยูเนสโก
๓. การใช้เครื่องหมาย “-” เพื่อแยกพยางค์ มีหลักการดังนี้
                ๓.๑ เมื่ออักษรตัวสุดท้ายของพยางค์เป็นสระ และอักษรตัวแรกของพยางค์ที่ตามมาขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ng () เช่น สง่า = Sa-nga
                ๓.๒ เมื่อตัวอักษรตัวสุดท้ายของพยางค์หน้าเป็น ng (ง) และอักษรตัวแรกของพยางค์ที่ตามมาขึ้นต้นด้วยสระ เช่น บังอร = Bang-on
                ๓.๓ เมื่ออักษรตัวแรกของพยางค์ที่ตามมาขึ้นต้นด้วยสระ เช่น สะอาด = sa-at, สำอาง = sam-ang
๔. การแยกคำ
                ในการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันให้เขียนแยกเป็นคำ ๆ เช่น
                                สถาบันไทยคดีศึกษา           = Sathaban Thai Khadi Sueksa
                                ห้างแก้วฟ้า                           = Hang Kaeo Fa
                                ถนนโชคชัย                         = Thanon Chok Chai
                ยกเว้นคำประสมซึ่งถือว่าเป็นคำเดียวกัน และวิสามายนามที่เป็นชื่อบุคคล ให้เขียนติดกัน เช่น
                                ลูกเสือ(คน)                          = luksuea
                                รถไฟ                                     = rotfai
                                นายโชคชัย จิตงาม              = Nai Chockchai Chitngam
๕. การใช้อักษรโรมันตัวใหญ่
                ๕.๑ อักษรตัวแรกของวิสามานยนาม และคำนำหน้านามที่อยู่หน้าคำวิสามานยนามนั้นๆ ให้ใช้ตัวอักษรโรมันตัวใหญ่ เช่น
                                เด็กหญิงอุ้มบุญ ทองมี        = Dekyiny Umbun Thongmi
                                ร้านร่วมเสริมกิจ                   = Ran Ruam Soem Kit
                                จังหวัดกำแพงเพชร            = Changwat Kamphaeng Phet
                ๕.๒ อักษรตัวแรกของคำแรกในแต่ละย่อหน้าให้ใช้ตัวอักษรโรมันตัวใหญ่
๖. การถอดชื่อภูมิศาสตร์
                ให้ถอดคำสามานยนามที่เป็นชื่อภูมิศาสตร์เป็นอักษรโรมันโดยไม่ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ เช่น
                                เขาสอยดาว                           = Khao Soi Dao ไม่ใช้ว่า Soi Dao Hill
                                แม่น้ำป่าสัก                           = Maenam Pa Sak ไม่ใช้ว่า Pa Sak River
                                ถนนท่าพระ                         = Thanon Tha Phra ไม่ใช้ว่า Tha Phra Road
                                เกาะสีชัง                               = Ko Si Chang ไม่ใช้ว่า Si Chang Island
๗. การถอดคำทับศัพท์
                ๗.๑ คำทับศัพท์ที่เป็นวิสามานยนาม ให้เขียนตามภาษาเดิม เช่น
                                บริษัทเฟิสต์คลาส จำกัด     = Fist Class Co. Ltd.
                ๗.๒ คำทับศัพท์ที่เป็นส่วนหนึ่งของวิสามานยนามและไม่ประสงค์จะแปลชื่อวิสามานยนามนั้น ให้เขียนคำทับศัพท์นั้นเป็นอักษรโรมันตามการออกเสียงในภาษาไทย เช่น
                                สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้
                                = Sathaban Theknoloyi Kankaset Mae Cho
๘. การถอดเครื่องหมายต่างๆ
                ๘.๑ คำที่มีเครื่องหมายไม้ยมก (ๆ) ให้ถอดคำซ้ำ วลี หรือประโยคอีกครั้งตามหลักการอ่าน เช่น
                                ทำบ่อย ๆ = tham boi boi
                                ไฟไหม้ ๆ = fai mai fai mai
๘.๒ คำที่มีเครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ) ซึ่งย่อความของคำที่รู้จักกันดีแล้ว เช่น กรุงเทพฯ หรือคำที่เป็นแบบแผนซึ่งต้องอ่านเต็ม เช่น โปรดเกล้าฯ ให้ถอดเป็นอักษรโรมันเต็มคำอ่าน เช่น
                กรุงเทพฯ              = Krung Thep Maha Nakhon
                โปรดเกล้าฯ          = protklao protkramom
๘.๓ คำที่มีเครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ) หากมีคำเต็มซึ่งใช้ในข้อความก่อนหน้านั้นแล้ว จะถอดเต็มตามคำอ่านหรือไม่ก็ได้ เช่น
                กรมพระราชวังบวรฯ
                = Kromphraratchawangbowon Sathanmongkhon
                หรือ Kromphraratchawangbowon
๘.๔ คำ ฯพณฯ ให้ถอดตามคำอ่าน คือ พะนะท่าน = Phanathan
๘.๕ เครื่องหมายไปยาลใหญ่ (ฯลฯ) ที่อยู่ท้ายข้อความซึ่งจะอ่านว่า “ละ” หรืออ่านว่า “และอื่น ๆ” ให้ถอดเป็นอักษรโรมันตามเสียงอ่านนั้น ๆ เช่น ในตลาดมีเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำตาล น้ำปลา ฯลฯ
                = nai talat mi nueasat phak phonlamai namtan nampla la หรือ nai talat mi nueasat phak phonlamai namtan nampla lae uen uen
๘.๖ เครื่องหมายไปยาลใหญ่ (ฯลฯ) ที่อยู่กลางประโยคซึ่งอ่านว่า “ละถึง” ให้ถอดเป็นอักษรโรมันตามเสียงอ่าน เช่น
                พยัญชนะไทย ๔๔ ตัว มี ก ฯลฯ ฮ
                = phayanchana thai si sip si tua mi ko la thueng ho
๙. การถอดคำย่อ
                ๙.๑ คำย่อที่มาจากตำเต็มที่รู้จักกันดีและไม่ยาวนัก ให้อ่านเต็มตามหลักการอ่าน และให้ถอดเป็นอักษรโรมันเต็มตามคำอ่าน เช่น
                                จ.             ซึ่งย่อมาจากคำ จังหวัด                                       = changwat
                                ช.ม.                ”  ”           ชั่วโมง                                          = chuamong
                                พ.ศ.              ”  ”            พุทธศักราช                  = phutthasakkarat
                ๙.๒ คำย่อที่มาจากคำประสมหลายคำและค่อนข้างยาว หรือยาวมากจะถอดตามคำอ่านของตัวย่อ หรือถอดเต็มก็ได้ เช่น
                                ผอ. ย่อจาก ผู้อำนวยการ = pho-o หรือ phu-amnuaikan
๑๐. การถอดตัวเลข
                ให้ถอดตามหลักการอ่านอักขรวิธีไทย โดยเขียนอักษรโรมันเต็มตามเสียงที่อ่านในภาษาไทย เช่น
                                ๔.๕๐ บาท   อ่านว่า             สี่บาทห้าสิบสตางค์
                                                                                = si bat ha sip satang
                                ๐๕.๐๐ น.       ”                     ห้านาฬิกา
                                                                                = ha nalika
                                ๓.๑.๑              ”      สามจุดหนึ่งจุดหนึ่ง
                                                                                = sam chut nueng chut nueng
                                ๑:๒                ”                      หนึ่งต่อสอง
                                                                                = nueng to song
 ___________________________________________________________________________________________